DSpace Repository

การพัฒนาเครื่องมือและวิธีการเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเสียรูปของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพภายใต้สภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปิยะฉัตร ฉัตรตันใจ
dc.contributor.author ชนม์พิสิทธิ์ ยาท้วม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:58:58Z
dc.date.available 2023-05-12T03:58:58Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7468
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract ในงานทางด้านวิศวกรรมปฐพีส่วนใหญ่ เช่น งานอุโมงค์ งานคันดินยาว งานเขื่อน งานกำแพงกัน ดิน เป็นต้น จะอยู่ในสภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบ (Plane strain condition) ซึ่งการทดสอบหาค่า การรับกำลังของดินแบบแรงอัดสามแกน (triaxial test) มีเงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของการทดสอบที่ไม่สอดคล้องกันดังนั้นจึงต้องทําการทดสอบในสภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบขึ้น โดยงานวิจัยนี้ได้ทําการพัฒนาเครื่องมือที่มีความแม่นสูงเพื่อใช้ในการทดสอบและวิธีการเตรียมตัวอย่างแบบไม่รบกวนตั้งแต่ เริ่มต้นไปจนถึงสิ้นสุดขั้นตอนการเฉือนดิน เครื่องมือและชุดโปรแกรมควบคุมที่ใช้ในการทดสอบนี้ได้ทําการออกแบบและประดิษฐ์ขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมปฐพีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้สอดคล้องกับการทดสอบให้มากที่สุดตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบจะมีลักษณะเป็นทรงลูกบาศก์ โดยมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่าง คือ นําดินเหลวบรรจุเข้าเครื่องทดสอบที่ได้ติดตั้งถุงยางไว้กับเครื่องทดสอบโดยเครื่องทดสอบจะมีแผนประกบด้านหน้าและด้านหลังเป็นแบบยึดตรึงไว้ และมีด้านซ้ายและด้านขวาสามารถถอดออกได้เพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบแก่ตัวอย่าง ในการ สร้างโครงสร้างดินใหม่ของดินเหนียวที่มีปริมาณน้ำสูงจะใช้กระบวนการอัดตัวคายน้ำในหนึ่งมิติโดยทําการให้แรงกดในแนวดิ่งด้วยกระบอกลมนิวเมติกซึ่งมีการปรับแก้ค่าแรงดันลมอยู่ตลอดเวลาร่วมกับแรงดันน้ำที่เป็นลบเพื่อเร่งการทรุดตัวในกระบวนการอัดตัวคายน้ำในที่นี้จะใช้แรงดันน้ำที่เป็นลบไม่เกิน 30% ของแรงกดในแนวดิ่ง ในกระบวนการนี้ค่าของการเคลื่อนตัวในแนวราบจะมีค่าคงทีทั้งสี่ด้านและจะถูกวัดค่าของแรงดันดินด้านข้าง ตลอดการทดสอบด้วยอุปกรณ์วัดแรงดันดินด้านข้างที่ติดตั้งอยู่กับแผนประกบด้านหลัง เมื่อสิ้นสุดการสร้างโครงสร้างดินใหม่จะต้องทําการเปลี่ยนสภาวะแวดล้อมของอุปกรณ์ให้เป็นสภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบโดยทําการปลดแผนประกบด้านข้างออกแล้วทํากระบวนการอัดตัวคายน้ำในหนึ่งมิติอีกครั้งโดยให้การยุบตัวในแนวดิ่งซึงควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการอัดตัวคายน้ำสามารถหาค่า สัมประสิทธิของแรงดันดินด้านข้างขณะหยุดนิ่งได้จากผลการทดสอบเฉือนตัวอย่างที่ถูกเตรียมตัวอย่างขึ้น ด้วยความเค้นในแนวดิ่งเท่ากับ 50 60 และ 80 kPa ตามลําดับ พบว่า ทั้งสามตัวอย่างมีลักษณะการวิบัติที่มีแถบแรงเฉือนเป็นรูปกากบาท เมื่อนําค่า Stress-Strain มาเปรียบเทียบกันในเทอมของความสัมพันธ์ระหว่างค่า Deviator stress กับค่า Vertical strain พบว่าเกิด Hardening Softening or decreasing และเข้าสู่ Residual state ตามลําดับทั้งสามตัวอย่าง และค่าแรงดันน้ำส่วนเกินที่เกิดขึ้นมีค่าเป็นบวกมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นเมื่อกำลังรับแรงเฉือนของดินนั้นต่ำลง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
dc.subject การอัดตัวคายน้ำของดิน -- การทดสอบ
dc.subject ดิน -- การทดสอบ
dc.subject ดินเหนียว -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.title การพัฒนาเครื่องมือและวิธีการเพื่อศึกษาพฤติกรรมการเสียรูปของดินเหนียวอ่อนกรุงเทพภายใต้สภาวะแวดล้อมแบบความเครียดในระนาบ
dc.title.alternative The new pprtus nd methodology for study the deformtion chrcteristic of soft bngkok cly under plne strin condition
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative For many geotechnical engineering problems dealing with very soft clay deposit (e.g., stability of the slope, embankment, etc.), their characteristics are plane strain condition that the conventional triaxial tests are unable to simulate those significant different boundary condition. Therefore, plane strain compression (PSC) tests on very soft clay are necessary. In this research, the new apparatus including high accurate measuring devices and technique to reproduce soft clay specimens without any disturbance before shearing was proposed. All hardware and software of plane strain apparatus proposed in this work was particularly designed and manufactured at the geotechnical laboratories of Burapha University, Chon Buri, Thailand to serve the particular requirement. A prismatic very soft clay specimen can be prepared by consolidating clay slurry injected to a membrane enclosed with two confining plates at front and rear sides, and two auxiliary plates at the left and right sides. Reconstituting is performed by one-dimensional consolidation that the injected high water content of clay slurry was compressed by the top cap using an air cylinder with feedback control system combined with negative pore-water pressure (suction). The suction is about 30% of compression stress. During consolidation process, the strains at the four lateral sides are constrained and a lateral stress is measured in real time at the rear confining plate. After the reconstituting was finished, the boundary condition was changed to plane strain condition by removal of the two auxiliary plates. Then, the 1-D consolidation process was performed in the same plane strain cell which only two opposite sides (the side of auxiliary plates) were controlled by applied vertical deformation via computer controller. After finishing the consolidation process the value of coefficient of lateral soil pressure at rest was firstly determined and then shearing process can be performed consecutively by applying vertical compression under initial vertical stress of 50, 60 and 80 kPa respectively. According to all testing results, the shear bands are the single type, ‘X’ at the failure state and the stress–strain curves obtained under plane strain condition shows three phases of deviator stress with vertical strain increase: strain hardening, softening or decreasing and residual state. The positive excess pore water pressure increases for lower shear strength specimen.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมโยธา
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account