DSpace Repository

การจัดตารางการผลิตเครื่องจักรแบบขนานที่ลำดับงานมีผลต่อเวลาการตั้งเครื่องจักรในกระบวนการขึ้นรูปยางรถยนต์

Show simple item record

dc.contributor.advisor จักรวาล คุณะดิลก
dc.contributor.author อารดา ไชยโคตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:58:56Z
dc.date.available 2023-05-12T03:58:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7458
dc.description งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เสนอวิธีการจัดตารางการผลิตของเครื่องจักรสําหรับการขึ้นรูปยางรถยนต์ที่มีเป้าหมายในการลดต้นทุนรวมจากค่าแรงงานและค่าไฟฟ้าในการเดินเครื่องจักร ระบบการผลิตนี้มีลักษณะเป็นแบบเครื่องจักรแบบขนานจํานวน 32 เครื่อง สําหรับผลิตงานประมาณ 80 รุ่นต่อวัน รวม 7,000 เส้นต่อวัน โดยที่เวลาการปรับตั้งเครื่องจักรเมื่อมีการเปลี่ยนรุ่นการผลิตขึ้นอยู่กับลําดับงานก่อนหน้า การจัดตารางการผลิตของกระบวนการขึ้นรูปยางรถยนต์นี้เป็นกิจกรรมที่ทําประจําสัปดาห์ โดยนําปริมาณความต้องการยางแต่ละวันในหนึ่งสัปดาห์ข้างหน้าจากแผนการผลิตหลักมาสร้างเป็นตารางการผลิตรายวัน ปัญหาการจัดตารางการผลิตรายวันนี้จึงเป็นปัญหาการจัดตารางการผลิตของเครื่องจักรแบบขนานที่ลําดับงานมีผลต่อเวลาการปรับตั้งเครื่องจักรและวัตถุประสงค์ของการจัดตารางการผลิตคือการทําให้ต้นทุนรวมตํ่าที่สุด งานวิจัยนี้ได้สร้างแบบจําลองกำหนดการเชิงเส้นจํานวนเต็มผสม (Mixed integer linear programming, MILP) สําหรับแก้ปัญหานี้แบบจําลองที่สร้างขึ้นมีพื้นฐานจากปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถรับส่งนักเรียน โดยมีการเพิ่มเงื่อนไขสําคัญด้านการทํางานล่วงเวลา และจุดตั้งต้นการทํางานของเครื่องจักรแต่ละเครื่องที่แตกต่างกันซอฟต์แวร์ OpenSolver ด้วยโปรแกรมประมวลผล Gurobi 7.5.2 ถูกนํามาใช้ในการหาผลลัพธ์ที่เหมาะสมของแบบจําลอง MILPโดยกำหนดเวลาประมวลผลสูงสุดเท่ากับ 1,500 วินาที การทดสอบประสิทธิภาพของแบบจําลอง MILP ที่เสนอเปรียบเทียบกับตารางการผลิตจริง 30 วันที่สร้างจากประสบการณ์ของผู้วางแผน พบว่า วิธีการที่เสนอสามารถลดต้นทุนรวมได้ 328,848 บาท ต่อเดือน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 13.3 จํานวนเครื่องจักรที่ใช้ลดลงโดยเฉลี่ย 3.3 เครื่องต่อวัน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 10.3 และเวลาการทํางานล่วงเวลาลดลงโดยเฉลี่ย 6 ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นการลดลงร้อยละ 2
dc.language.iso th
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
dc.subject การจัดสมดุลสายการผลิต
dc.subject อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
dc.subject เครื่องจักรกล -- การควบคุมการผลิต
dc.subject การผลิต
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
dc.subject รถยนต์ -- ยางล้อ -- การผลิต
dc.title การจัดตารางการผลิตเครื่องจักรแบบขนานที่ลำดับงานมีผลต่อเวลาการตั้งเครื่องจักรในกระบวนการขึ้นรูปยางรถยนต์
dc.title.alternative Prllel mchine scheduling with sequence dependent setup time for tire building process
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research proposed a scheduling method for tire building machines with reducing total cost from labor cost and electrical cost as the goal. The production system in the tire building process has 32parallel machines that responsible for producing 7,200 tires of 80 tire models per day, approximately. Each machine’s setup time when changing the models in production depends on the tire model that produced previously. Production scheduling in this process is a weekly planning activityfor generating daily production schedules that meet all demands for each day in one weekshownin the master production plan. This scheduling problem is a parallel machine scheduling problem with sequence dependent setup time as processing restriction and minimizing total cost as the objective. A mixed integer linear programming model (MILP) was developedto solve this problem. A school bus routing problem formulation wasused as the prototype model in developing the proposed MILP model that included an overtime constraint anddifferent initial jobs on each machine characteristic. The OpenSolver software with Gurobi 7.5.2 optimizer was used to find the solution. The maximum computation time was set at 1,500 seconds. The performance of the proposed MILP was evaluated by comparing with the real production schedules of 30 days that used experience of the production planner to generate the schedules. The results revealed that the proposed MILP was able to find all feasible solutions. The total cost was decreased328,848 baht per month (13.3%). The average number of machine used in the process was reduced 3.3 machines per day (10.3%). The average hour of production in overtime was reduced from 6hoursper day (2%).
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account