DSpace Repository

การพัฒนาแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisor ไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.author จารึก อาจวารินทร์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:58:55Z
dc.date.available 2023-05-12T03:58:55Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7448
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และสร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออก จำนวน 900 คน โดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบบวัดที่พัฒนาขึ้นแบ่งเป็น 3 ตอน คือ วัดความเชี่ยวชาญด้านองค์ความรู้ วัดความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ และวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ ตรวจสอบคุณภาพโดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาค่าดัชนี IOC ตรวจสอบคุณภาพรายข้อภายใต้กรอบทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน อันดับสาม และวิธีใช้กลุ่มตัวอย่างที่รู้ชัด ตรวจสอบความตรงตามสภาพด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และตรวจสอบความเที่ยงด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อสอบ จำนวน 33 ข้อ เพื่อวัดความเชี่ยวชาญด้านองค์ความรู้ 15 ข้อ วัดความสามารถด้านการคิดสร้างสรรค์ 9 ข้อและวัดความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ 9 ข้อ 2. คุณภาพของแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ที่พัฒนาเป็นดังนี้ คุณภาพ รายข้อ พบว่า ข้อสอบทุกข้อมีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.4 ถึง 0.7 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.2 ถึง 0.8 ความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า โมเดลความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (2) เท่ากับ 428.18 df = 391 p = 0.095 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (2 df) เท่ากับ 1.09 ดัชนี วัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.93 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.90 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.99 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.017 แสดงว่ามีความตรงเชิงโครงสร้าง และมีความตรงเชิงโครงสร้างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถแยกผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์และผู้ที่ไม่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ได้จริง มีความตรงตามสภาพอยู่ในระดับสูง และ ความเที่ยงของแบบวัดมีค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงเชิงสัมพัทธ์เท่ากับ 0.88 3. เกณฑ์ปกติของแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก เกณฑ์ปกติคะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์มีค่าตั้งแต่ 0.26 ถึง 99.18 เกณฑ์ปกติคะแนนมาตรฐานทีปกติมีค่าตั้งแต่ 22 ถึง 74
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา -- แบบทดสอบ
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) -- การประเมิน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject ความสามารถทางคณิตศาสตร์ -- แบบทดสอบ
dc.title การพัฒนาแบบวัดความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก
dc.title.alternative The development of mthemticl giftedness tests for grde 9th students in The Estern Region
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to develop mathematical giftedness tests, and to develop norms for the test for grade 9th students in the eastern region. By utilizing multi-stage random sampling technique, 900 grade 9th students of the schools under the Office of the Basic Education Commission in Eastern Region of Thailand participated in this study. The test batteries consisted of three domains; Knowledge proficiency, Creative Ability, Analytical Ability. For investigating the tests validity, item objective congruence index (IOC) were used. The item analysis was conducted by Classical Test Theory: CTT. The construct validity was examined by third-order confirmatory factor analysis and known group technique. Pearson Product Moment Correlation Coefficient was used for concurrent validity. Whereas the reliability were measured by analyzing coefficients of generalized ability. The results of the study were; 1. The mathematical giftedness tests consisted of 33 items, classified into 3 subtests; Knowledge Poficiency; 15 items; Creative Ability; 9 items and Analytical Ability; 9 items. 2. The index of content validity of the mathematical giftedness test ranged from 0.80 to 1.00. The difficulty level ranged from 0.40 to 0.70 and the discrimination power ranged from 0.20 to 0.80 For construct validity, the model was consistent with empirical data where 2 = 428.18, df = 391, p = .095, 2 df = 1.09, Goodness of Fit Index (GFI) = 0.93; Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.90; Comparative Fit Index (CFI) = 0.99; Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.017, This showed that there was construct validity. There were statistically significant differences at the .05 level, mathematical giftedness and non-mathematical giftedness can be distinguished. The concurrent validity was high. The Relative Generalizability Coefficient was found to be 0.88. 3. The region norms on the mathematical giftedness test for grade 9th students had the percentile of the total score were from 0.26 to 99.18 with normalized T-score of 22 to74.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account