DSpace Repository

การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.advisor สมศรี ทองนุช
dc.contributor.author อนุสรา สิงห์โต
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:58:54Z
dc.date.available 2023-05-12T03:58:54Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7444
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) ศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 และ 3) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ในปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 โรงเรียน จำนวน 367 คน แล้วทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระดับความผูกพันในองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารด้านการยอมให้ (X5) ด้านการบริหารด้านการหลีกเลี่ยง (X4) ด้านการบริหารด้านการร่วมมือ (X2) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันในองค์กรของครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการบริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ในภาพรวมมี 2 ด้านด้วยกัน คือ ด้านการประนีประนอมและด้านการยอมให้ โดยการประนีประนอมส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู แต่ในทางกลับกันถ้ายอมให้มากความผูกพันต่อองค์กรของครูจะน้อยลง และสามารถสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 3.508 + (.299) (x3)-(.150) (x5) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = .369 (x3)-(.140) (x5)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ผู้บริหารโรงเรียน -- การบริหาร
dc.subject ครู -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subject โรงเรียน -- การบริหาร
dc.subject การบริหารความขัดแย้ง
dc.title การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
dc.title.alternative A fctors of the reltionship between conflict mngement of dministrtors with enggement to the orgniztion of techers under the secondry eductionl service re office 18
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to study the organizational conflict management of directors in Secondary Education Area Office 18 2) to study the degree of organizational engagement of teachers in Secondary Education Area Office 18, and 3) to analyzed the conflict management that affect to organizational engagement of teachers in Secondary Education Area Office 18. The sample were teachers under the Secondary Education Area Office Area 18, there were 367 teachers in 50 schools in the academic year 2017. The sample was selected by multistage random sampling and stratified random sampling. The instrument utilized in this research was a questionnaire, with, reliability of .72. The data was analyzed by frequency, percentage, mean and standard variation. The hypothesis was tested proved by the stepwise multiple regression Analysis The results found that: 1. The levels of conflict management of school administrators under the Secondary Education Area Office 18 was at a high level. 2. With reference to the levels of organizational engagement of teachers under the Secondary Education Area Office 18 was at a high level. 3. The conflict management of school administrators consisted of; accommodation (X5), avoiding (X4) and collaboration (X2) There was a positive relationship between the conflict management school administrators and organizational commitment of teachers in the Secondary Education Area Office 18 at the .01 level of significance. 4. The conflict management of school administrators by compromising (X3) had a positive relationship with teachers engagement while accommodation (X5) has a negative relationship with teachers engagement at the .01 level of significance. The equations for raw and standard scores are written as follows: Equations in raw score. = 3.508 + (.299) (x3)-(.150) (x5) Equations in Standard Score = .369 (x3)-(.140) (x5)
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account