DSpace Repository

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.author ภัทรดา จำนงประโคน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:58:53Z
dc.date.available 2023-05-12T03:58:53Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7439
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มุ่งหมายเพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในกลุ่ม สหวิทยาเขตวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 และเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว ปีการศึกษา 2560 จำนวน 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง (IOC) .67-1.00 และค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์โดยใช้สถิติความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least significance difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยจูงใจโดยรวมอยู่ในระดับมากและปัจจัยค้ำจุนอยู่ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขต วังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามเพศ พบว่า ปัจจัยจูงใจโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านความรับผิดชอบและด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยค้ำจุนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์ การทำงาน พบว่า ปัจจัยจูงใจโดยรวมและด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยค้ำจุนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติในทุกด้าน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject การจูงใจ (จิตวิทยา)
dc.subject ครูมัธยมศึกษา -- การทำงาน
dc.subject การจูงใจในการทำงาน
dc.title แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตวังบูรพา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
dc.title.alternative Job motivtion of techers in Wngburp Group, Srkeo Province under the Secondry Eductionl Service Are Office 7
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were to study and compare job motivation of teachers in Wangburapa group, Srakaeo province under the Secondary Educational Service Area Office 7. The sample consisted of 195 teachers in Wangburapa group, Srakaeo province in the 2016 academic year. The data collection instrument used in this research was a 5 rating scale questionnaire with the Index of item-objective congruence was between .67-1.00 and the reliability was .89. The statistics inclding Mean, Standard Deviation, t-tast for Independent samples and One-way ANOVA least significant difference (LSD) test were used to analyze the collected data. The result of the research were as follows: 1. Job motivation of teachers in Wangburapa group, Srakaeo province under the Secondary Educational Service Area Office 7 as a whole was rated at a high level. When considering each factor, the research found that teacher’s reported’ high in motivation factors and reported moderate in hygiene factors. 2. The comparison of job motivation of teachers in Wangburapa group, Srakaeo province under the secondary educational service area office 7 shows that teachers with different gender rated motivation factors differently at .05 level. When considering each aspect, this study found that responsibility and advancement in job showed a statistical significant difference at .05 level. Hygiene factors was not significant difference. In addition Teachers with different working experience reported their job motivation and achievement differently at .05 level. Hygiene factors was again showed no significant difference. Finally, the job motivation of teachers with different school size showed no significant difference in every factor.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account