DSpace Repository

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor ผลาดร สุวรรณโพธิ์
dc.contributor.advisor คงรัฐ นวลแปง
dc.contributor.author ปาหนัน กองคำ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:32Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:32Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7429
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่กำลังเรียนใน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ของวิทยาลัยการอาชีพนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และการทดสอบ t-test for one samples ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
dc.subject ความสามารถทางคณิตศาสตร์ -- การทดสอบ
dc.title ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตรของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1
dc.title.alternative The effects of problem-bsed lerning ctivities on mthemticl problem-solving bilities nd lerning chievement of surfce re nd volume of voctionl eduction of the first yer students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were; 1) to compare the mathematical problem solving abilities of the first year vocational education of students after participating in the learning activities management using problem–based learning activities with the criterion 70% 2) to compare the mathematical learning achievement on surface area and volume of after participating in the learning activities management using problem–based learning activities with the criterion 70% The samples were 40 the first year vocational education students in academic year 2017 at Nayaiam Vocational Education of Industrial Community College, Nayaiam District, Chanthaburi Province. They were selected by cluster random sampling. The research instruments used in this research consisted of; 1) six lesson plans, 2) mathematical problem solving abilities test (with reliability of 0.98), 3) mathematical problem solving abilities achievement test on surface area and volume (with reliability of 0.83). The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test for one samples. The finding were as follows 1. The mathematical problem solving abilities of after learning with the activities by using problem- based learning management were higher than criterion of 70 % at the .05 significance level. 2. The mathematical learning achievement on surface area and volume of the students after learning with the activities by using problem- based learning management was higher than the criterion of 70 % at the .05 significance level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การสอนคณิตศาสตร์
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account