DSpace Repository

การสร้างแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisor ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
dc.contributor.author นฤมล อำมะรา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:23Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:23Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7417
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหาคุณภาพ และหาคะแนนจุดตัด (Cut scores) ของแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2560 โรงเรียนในสังกัดศึกษาธิการจังหวัดชลบรุี จำนวน 474 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 36 ข้อ และฉบับที่ 2 เป็ นแบบทดสอบอัตนัย จำนวน 9 ข้อ ที่สร้างขึ้น หาคุณภาพในด้านความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าความยาก (Difficulty) ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Discrimination) ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent validity) ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ค่าความเชื่อมั่นของกรรมการผู้ให้คะแนน (Reliability of raters) ค่าความสัมพันธ์ของคะแนนสอบในแบบทดสอบ 2 ฉบับ และหาคะแนนจุดตัด (Cut of scores) ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบทดสอบ จำนวน 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 จำนวน 36 ข้อและฉบับที่ 2 จำนวน 9 ข้อแต่ละปัญหาประกอบด้วยคำถามย่อย 4 คำถาม เพื่อวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา แบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ฉบับที่ 1 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สูงกว่า 0.5 จำนวน 36 ข้อ และมีค่าดัชนีความสอดคล้องไม่ตรงเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 8 ข้อ ฉบับที่ 2 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สูงกว่า 0.50 จำนวน 9 ข้อ และมีค่าดัชนีความสอดคล้องไม่ตรงเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 2 ข้อ 2. คุณภาพของแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ค่าสถิติพื้นฐาน ฉบับที่ 1 จำนวน 36 ข้อคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 21.12 คิดเป็นร้อยละ 58.67 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.44 ฉบับที่ 2 จำนวน 9 ข้อ 90 คะแนน คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 53.07 คิดเป็นร้อยละ 58.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 18.43 ค่าความยากของฉบับที่ 1 ตั้งแต่ 0.25-0.79 และฉบับที่ 2 ตั้งแต่ 0.50-0.63 ค่าอำนาจจำ แนกของฉบับที่ 1 ตั้งแต่ 0.21-0.77 และฉบับที่ 2 ตั้งแต่ 0.32-0.67 ค่าความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent validity) ของฉบับที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.78 และฉบับที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.82 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของฉบับที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.93 และฉบับที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.74 ค่าความเชื่อมั่นของกรรมการผู้ให้คะแนน (Reliabilityof raters) ของฉบับที่ 2 มีค่าเท่ากับ 0.99 ค่าความสัมพันธ์ของคะแนนสอบในแบบทดสอบ 2 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.90 3. คะแนนจุดตัดของแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ฉบับที่ 1 ด้วยวิธี Angoff Method คือ 25.98 จากคะแนนเต็ม 36 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 72.17 คะแนนจุดตัดของฉบับที่ 2 ด้วยวิธี Extended Angoff Method คือ 61.25 จากคะแนนเต็ม 90 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 68.06
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subject การแก้ปัญหา
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การสร้างแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative The construction of mthemticl problemsolving process test for students in grde 9 in the office of provincil eduction chonburi
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to create, validate the qualities and finding the cut score of mathematical problem solving process tests for in grade 9 students. A sample was grade 9 students in the first semester of year 2560 who study in schools which were affiliated with provincial education office in Chonburi Province, with the total of 474 students. These samples were selected by using Multi-Stage Random Sampling. The tools of this research were two mathematical problem-solving process tests: multiple choices test (36 test items, with4 choices) and write-up test (9 items). Both tests were validatedfor finding the qualities in content validity, basic statistical values, difficulty values, discrimination power, concurrent validity values, reliability values, reliability of rates values, correlation of both testing scores, and finding Cut of Scores. The Results were that: 1. The two mathematical problem solving process tests for thegrade 9 student: multiple-choices 36 items and write-ups 9 items. Each item consisted of 4 choices to measure mathematical problem solving process which followed by problem solving process of Polya. First test was found that the Index of Item-Objective Congruence (IOC) was higher than 0.5, however there were 8 items those were not met the criteria. The second tests was found that the IOC was higher than 0.5 about 9 items and 2 items werebelow .05 level. 2. The quality of the mathematical problem-solving process tests: the basic statistical values for the first test of 36 items has average of21.12 (58.67%), standard deviation (SD) of8.44. The second 9 write-up test item (full score of 90) (90 Scores) has average of53.07 (58.97%), standard deviation (SD) of 18.43. Concerning difficulty values, first test was between 0.25-0.79 and second test was between 0.50-0.63. Discrimination values, first test was between 0.21-0.77 and second test was between 0.32-0.67. Concurrent validity values, first test was at 0.78 and second test was at 0.82. Reliability values, first test as at 0.93 and second test as at0.74. Reliability of Raters values, second test was at 0.99. And correlation values of both test was at 0.90. 3. The Cut Scores of first mathematical problem solving process test was 25.98 out of 36 and the average was at72.17 by using Angoff Method ,and second mathematical problem solving process test was at 61.25 out of 90 and the average of 68.06 percent by using Extended Angoff Method.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account