DSpace Repository

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.advisor ชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.author อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:21Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:21Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7416
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด จำนวน 1,104 คน ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-609) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 291 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามอำเภอและทำการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 74 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20-.80 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านผู้บริหาร มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .87 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านครู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสภาพทั่วไปของสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .75 และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .83 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครู และปัจจัยด้านสภาพทั่วไปของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก 2. ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด แต่ละด้านอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด พบว่าปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราดได้ร้อยละ 65.6 ที่ระดับนัยสำคัญ .01 ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ได้ คือ การปฏิบัติงาน สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังต่อไปนี้ = 0.777 + 0.194 (X4) + 0.120 (X5) + 0.131 (X2) + 0.149 (X7) + 0.152 (X1) + 0.081 (X3) = 0.261 (Z4) + 0.171 (Z5) + 0.153 (Z2) + 0.193 (Z7) + 0.182 (Z1) + 0.097 (Z3)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด
dc.title.alternative Fctors ffecting effectiveness in the cdemic dministrtion of Trt primry school under Trt primry eductionl service re
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to investigate the factors affecting effectiveness of academic administration of Trat primary schools under Trat primary educational service area. The sample consisted of two hundred and nighty one government teachers, the sample was identified as suggested in the sample sized table of Krejcie and Morgan (1970, pp. 608-609). Two hundred and nighty one teachers were selected by stratified random sampling and simple random sampling. The research instruments used was a five point rating scale questionnaire. The discrimination value ranged between .20-.80. The statistics used for the data analysis were mean ( ), Standard Deviation (SD), Pearson correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows: 1. The factors affecting effectiveness of academic administration of Trat primary school consisted of the principle directors, teachers and general conditions that were rated at the high level. 2. The effectiveness of academic administration of Trat primary schools under Trat Primary Educational Service Area was rated at the high level. 3. The factors affecting effectiveness of academic administration of Trat primary schools relationship with effectiveness of academic administration of Trat primary schools with statistically significance at .01 level. 4. The analysis of the factors affecting effectiveness of academic administration of Trat primary school was accounted for 65.6 percent of prediction with statistically significance at .01 level. The variables that could predict were workings. The predictive equations of the effectiveness academic administration in terms of raw scores and standard scores are as follows. = 0.777 + 0.194 (X4) + 0.120 (X5) + 0.131 (X2) + 0.149 (X7) + 0.152 (X1) + 0.081 (X3) = 0.261 (Z4) + 0.171 (Z5) + 0.153 (Z2) + 0.193 (Z7) + 0.182 (Z1) + 0.097 (Z3)
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account