DSpace Repository

การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author รัตตินันท์ บุญกล้า
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:19Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:19Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7409
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงขผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ปีการศึกษา 2560 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-609) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 351 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามขนาดสถานศึกษา จากนั้นทำการสุ่มอย่างงายตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .21-.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และเมื่อมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ 2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกเพศ โดยรวมและรายด้านทุกด้าน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน โดยรวมและรายด้าน ทุกด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. เปรียบเทียบภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา
dc.subject ภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subject ภาวะผู้นำ
dc.title การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
dc.title.alternative The study of trnsformtionl ledership of shool dminstrtors under secondry eductionl service re office 18
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this study was to compare the transformational leadership of school administrators in Secondary Educational Service Area Office 18 as Classified by genders, teaching experiences of school teachers and school sizes. The sample was 351 teachers teaching in Secondary Educational Service Area Office 18 in 2015. The numbers of sample was suggested in the table of Krejcie & Morgan (1970, pp. 607-609). Stratified random sampling, and simple random sampling method were applied based on the size of schools. The research instrument was a questionnaire asking questions concerning transformational leadership of school administrators in Secondary Educational Service Area Office 18 the five-point-rating scale questionnaire in this study consisted of 40 items. Discrimination power was between .21-.79 and its Reliability was .95. Data was analyzed by Mean, Standard Deviation, One Way-anova and Scheffe’s method. The results of the study were as follows: 1. The transformational leadership of school administrators using opinion of teachers in Secondary Educational Service Area Office 18 as a whole and individual aspect was in a high level: intellectual stimulation was the highest level and inspirational motivation was the lowest level. 2. The transformational leadership of school administrators in Secondary Educational Service Area Office 18, classified by genders of as a whole and individual aspect was not statistically significant. 3. The transformational leadership of school administrators in Secondary Educational Service Area Office 18, classified by teaching experiences of teachers as a whole and individual aspect was not statistically significant. 4. The transformational leadership of school administrators using opinion of teachers in Secondary Educational Service Area Office 18, classified by school sizes as a whole and individual aspect was statistically significant different at .05 level, except in the area of idealized influence and individualized consideration which were found not statistically significant.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account