DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
dc.contributor.advisor จุฑามาศ แหนจอน
dc.contributor.author มุทิตา อดทน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:17Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:17Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7400
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา จังหวัดระยอง จำนวน 70 คน โดยใช้ การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)โปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโต 2) แบบวัดชุดความคิด และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด เปรียบเทียบคะแนนกรอบความคิดเติบโตระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมภายหลังการทดลอง ด้วยการทดสอบค่าทีแบบ Independent t-test และเปรียบเทียบคะแนนกรอบความคิดเติบโตในกลุ่มทดลองระหว่างสิ้นสุด การทดลองกับก่อนการทดลองด้วยการทดสอบค่าทีแบบ Dependent t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตมีคะแนนกรอบความคิดเติบโตสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรมภายหลังสิ้นสุดการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตมีคะแนนกรอบความคิดเติบโตเมื่อสิ้นสุดการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตสามารถพัฒนาให้นักเรียนมีกรอบความคิดเติบโตดีขึ้นและดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความคิดและการคิด
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- พฤติกรรม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสมอง จิตใจ และการเรียนรู้
dc.subject กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.title ผลของโปรแกรมการพัฒนากรอบความคิดเติบโตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternative The effects of the growth mindset progrm in upper secondry school students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The main purpose of this study was to study the effects of the Growth Mindset program in upper secondary school students. The sample was 70 students of Banchangkranchanakulwittaya School, Rayong in the 2017 academic year. The sample was randomized by using simple random sampling into two groups. 35 students were assigned into an experimental group, and another 35 students were put into a control group. The research instruments were 1) Growth Mindset program, 2) mindset assessment scale , and 3) evaluation form for investigating the change of behavior mindset. There were 2 phases in collecting the data. These were comparing the growth mindset scores between the experimental group and the control group, After the experiment, the collected data was analyzed by the use of Independent t-test to compare the growth mindset scores received between before and after the experiment, For the experimental group, the collected data was analyzed by the Dependent t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The post-growth mindset score of students in the experimental group was higher than the one received from students in the control group, and this study reports a significantly difference at .05 level. 2. The post-growth mindset score of the students participating the Growth Mindset program was higher than the pre-growth mindset score, which was significantly difference at .05 level. The results indicated that the growth mindset program could help develop growth mindset of students in experimental group showing a higher score than those in the control group.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สมอง จิตใจ และการเรียนรู้
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account