DSpace Repository

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนวิน ทองแพง
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author สุชาดา สวัสดี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:14Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:14Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7386
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิภาคตะวันออก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออก จำนวน 386 คน โรงเรียนที่ใช้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการทดลอง คือ โรงเรียน ระยองวิทยาคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความต้องการจำเป็นใน การจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก คู่มือการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi) แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินประสิทธิผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ค่าสถิติ ผลการวิจัย พบว่า จากการประเมินความต้องการจำเป็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ภูมิภาคตะวันออก มีสามอันดับแรกที่ต้องการพัฒนา ได้แก่ ด้านการวิจัยปรับปรุง ด้านการปรับพื้นฐานผู้เรียน และด้านการวิเคราะห์ผู้เรียน จากการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ใช้หลัก PDCA โดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน มีรูปแบบดังนี้ คือ 1) ขั้นวางแผน (Plan) ประกอบด้วย 1. การวิเคราะห์หลักสูตรและจัดทำหน่วยการเรียนรู้ 2. การวิเคราะห์ผู้เรียน 3. การปรับพื้นฐานผู้เรียน 4. การออกแบบการเรียนรู้ 2) ขั้นปฏิบัติการ (Do) 5. การจัดการเรียนรู้ 6. การประมวลผลการเรียนรู้ 3) ขั้นตรวจสอบ (Check) 7. การนิเทศ 4) ขั้นปรับปรุงแก้ไข (Act) 8. การวิจัยปรับปรุง 9. การพัฒนาต่อเนื่อง และ 10. การรายงานผล และจากการประเมินหลังการทดลองใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิผล โดยมีผลการประเมินในระดับเหมาะสมในทุกด้าน ได้แก่ 1) ด้านการใช้ประโยชน์ของรูปแบบ 2) ด้านความเป็นไปได้ใน การปฏิบัติจริง 3) ด้านความเหมาะสม และ 4) ด้านความถูกต้องน่าเชื่อถือ และผลการประเมิน ความพึงพอใจจากครูผู้สอนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีผลความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
dc.subject การศึกษาขั้นมัธยม
dc.title การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาในภูมิภาคตะวันออก
dc.title.alternative Prticiptory ction reserch for the development of instruction mngement model for secondry school in Estern Region
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to develop a learning management model for secondary school in Eastern region by participatory action research. The sample consisted of 386 high school teachers under the Office of The Basic Education Commission in the eastern region,Thailand. The target sample school was Rayong Wittayakom school. The research instruments included a questionnaire, In-depth interview, group discussion guide, the Delphi learning management model questionnaire, satisfaction on using the learning management model questionnaire and evaluation form. Data were analyzed by statistical program. The results showed that the needs assessment of teachers in the school were: researching for improvement, student knowledge foundation, and students’ analysis. the creation and development of the learning management The PDCA was used for the PDCA. It was divided into 4 phases: 1) Plan consisted of: 1. Curriculum analysis and unit learning. 2. Student Analysis 3. Basic Education for students 4. Learning Design 2) Do consisted of: Learning Management, 2. Learning Process, 3) Check 1. Supervision, and 4) Act. Consisted of Improved research. 2. Continuous development and 9. Reporting. After the evaluation of the developed learning management model it was found that the learning management model was at appropriate level in all aspects, namely: 1. The usefulness of the model. 2. The practicality. 3. the appropriateness and 4. The reliability. The results of the evaluation of satisfaction of teachers and related personnel showed that they were satisfied with the learning management model at the highest level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account