DSpace Repository

หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของครูระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author ยาดา กมลวิทยานันท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:12Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:12Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7373
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของครูระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำแนกตามเพศ สถานภาพ ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ปีการศึกษา 2561 โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970, p. 608) จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .29-.76 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของครูระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านหลักคุณธรรม อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงอันดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านหลักความคุ้มค่า ด้านหลักการมีส่วนร่วม ด้านความโปร่งใส ด้านหลักความรับผิดชอบ ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักคุณธรรม ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบหลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของครูระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ธรรมรัฐ
dc.subject ครูปฐมวัย
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title หลักธรรมาภิบาลในการปฏิบัติงานของครูระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
dc.title.alternative The good governnce for techer’s performnces in school under Ryong Primry Eductionl Service Are Office 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research were to study and compare good governance of early childhood teachers working in schools under the Rayong Primary Educational Service Area Office 2 as classified by sex, status, experiences and school size. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s Sample Size Table (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608). The sample consisted of 118 early childhood teachers under the Rayong Primary Educational Service Area Office 2. The research instrument was a 5 rating scale questionnaire which consisted of 40 items. The item rating discrimination is between .29-.76 and the alpha coefficient of the reliability was .90. The statistic used for analyzing the data were frequency, percentage, Mean, Standard Deviation, t-test and one-way ANOVA. The results of this research were as follows: 1. Good governance of early childhood teachers under Rayong Primary Educational Service Area Office 2 is overall and each aspect, at a high level, except in the area of moral principle which is at a medium level. The rankings from the high to the low mean scores were worth method, participate method, transparency method, responsibility method, right method and moral method. 2. The comparison of good governance showed by early childhood teachers under Rayong Primary Educational Service Area Office 2 as classified by gender, experiences and school size both in overall and each aspect showed no statistically significant difference.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account