DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางพัฒนาวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนชลบุรี "สุขบท" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภารดี อนันต์นาวี
dc.contributor.author พลาธิป เกียรติวรรธนะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:55:11Z
dc.date.available 2023-05-12T03:55:11Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7368
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ ของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 2 คน และศิษย์เก่า จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 17 คน จากข้อค้นพบในงานวิจัย พบว่า 1. ปัญหาวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนชลบุรี “สุขบท” พบว่า 1) การกำหนดวัฒนธรรมและเป้าหมายของโรงเรียนสูงกว่าที่ปฏิบัติจริง 2) การมอบอำนาจผู้บริหารมักใช้ความคิดตัวเองเป็นใหญ่ ไม่รับฟังผู้อื่น หรือบุคคลรอบข้าง 3) การตัดสินใจ ครูไม่สามารถตัดสินใจได้เอง บุคลากรขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ 4) ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน พบปัญหาเกี่ยวกับครูที่มาบรรจุใหม่ที่เป็นคนต่างจังหวัดไม่มีความผูกพันกับโรงเรียน ส่วนใหญ่มีแนวโน้มในการย้ายกลับภูมิลำเนา 5) ความเชื่อถือไว้วางใจ บุคลากรในโรงเรียนขาดโอกาสในการพัฒนางาน เพราะผู้บริหารยังไม่เปิดโอกาสให้บุคลากรได้เลือกทำงานตามความถนัด และความต้องการของตนเอง 6) ความมีคุณภาพ ครูขาดความเข้าใจด้านหลักสูตรสถานศึกษา ในส่วนของการปฏิบัติงานครูได้รับคำสั่งแต่งตั้งจากผู้บริหารให้ปฏิบัติงานในงานที่ไม่มีความรู้ และไม่มีความถนัด บางส่วนครูไม่ทราบ เกณฑ์และตัวบ่งชี้มาตรฐานครู 7) การยอมรับนับถือ ครูมีช่วงอายุที่แตกต่างกันมากทำให้มีบทบาทการทำงานต่างกัน นอกจากนั้นครูยังขาดแรงกระตุ้น และแรงจูงใจในการทำงาน 8) ความเอื้ออาทร ครูยังไม่ได้รับการส่งเสริมความรู้ประจำสายงาน และยังขาดผู้มีความสามารถเฉพาะทางดูแลงานให้ถูกที่ ถูกคน ถูกงานที่ได้รับมา 9) ความซื่อสัตย์สุจริต ผู้บริหารของโรงเรียนขาดความยุติธรรม และบุคลากรของโรงเรียนขาดจริยธรรม ความเพียรพยายามในการปฏิบัติงาน 10) ความหลากหลายของบุคคล ครูบางส่วนไม่มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียน 2. แนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 ใน 10 ด้าน โดยผู้บริหารควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) ให้ความสำคัญในการกำหนดเกณฑ์ที่แน่ชัด และติดตามผลอย่างจริงจัง 2) ควรพิจารณาไตร่ตรอง และตัดสินใจบนพื้นฐานของความ 3) ควรมุ่งเน้นการลดความขัดแย้งในองค์การและตั้งกฎ กติกาการทำผิดวินัยอย่างเข้มงวด 4) ควรส่งเสริมให้ครูทุกคนมีส่วนในการวางแผนการใช้ทรัพยากรให้รอบครอบ โดยแบ่งฝ่ายการรับผิดชอบให้ชัดเจน 5) ควร เปิดโอกาสให้ครูเลือกทำงานตามความถนัดของตนเอง 6) ควรกระจายงานให้ทั่วถึง 7) ควรให้ขวัญหรือกำลังใจในการทำงานกับครู 8) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้ปฏิบัติงานตามที่ตนเองถนัด 9) ควรสร้างจิตสำนึกให้กับครูเพื่อให้มี ความเคร่งครัดในการปฏิบัติหน้าที่ และต้องมีความยุติธรรมเอื้อเฟื้อโปร่งใสตรวจสอบได้ 10) ควรขับเคลื่อนการทำงานของบุคลากร ภายในโรงเรียนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ผู้บริหารการศึกษา -- การบริหาร
dc.subject วัฒนธรรมองค์การ
dc.subject การพัฒนาองค์การ
dc.title ปัญหาและแนวทางพัฒนาวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนชลบุรี "สุขบท" สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
dc.title.alternative Problems nd guided orgniztionl culture development of Chonburi “Sukkhbot” school under Secondry Eductionl Service Are Office 18
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study problems and guidelines for the development of Chonburi “Sukkhabot” School under the Secondary Educational Service Area Office 18. The study was a qualitative research. The instrument used in this research was the structured interview guide. There were 27 informants: 1 school administrator, 10 teachers, 2 basic educational school committees, 2 parents, and 2 alumni. The results of the study were as follows: 1. The problems of organizational culture of Chonburi “Sukkhabot” School were 1) Problem about culture and goal setting. It found that the culture and goal setting of the school was higher than action what school members could do, 2) Problem about authority in the school. It found that administration authority was almost exercised from one-side, 3) Problem about decision. It found that most teachers were not able to make decisions by themselves. They had lacked of responsibility on their duty, 4) Problem about school connection. It found that most of new teachers came from other provinces, and they may probably move back to their hometown. Therefore, they will not have a deep connection with other teachers when they are in the school, 5) Problem about credibility. It found that both teachers and school officers were not capable in performing their tasks because there were limitations in term of requirements, situations as well as supervision, 6) Problem about specific knowledge. It found that not only the teachers have to teach, but they also do both administrative not to teach, but they were ordered by the work and many various jobs in schools. Furthermore, their specific knowledge, especially, teaching, developing curriculum, and evaluating student’ learning outcomes, were inadequate, 7) Problem about respect. It found that because of the differences in span of ages, the elders sometimes lacked in working motivation, 8) Problem about hospitality. It found that the improvement of specific knowledge should have facilitated for all teachers, 9) Problem about ethics. It found that some of the administrators and school officers were lacking in ethics, 10) Problem of human diversity. It found that there were different ways of teaching technique among teachers. 2. Guidelines for the development of organizational culture of Chonburi “Sukkhabot” School under the Secondary Educational Service Area Office 18 found in this study are forces to administrators as follows: 1) attentively focus on authentic assessment, 2) carefully decide and consider about the consequences of their assignment to teachers, 3) compromise and deal with conflict situations, 4) encourage participation and involvement, 5) give an opportunity for all teachers, 6) delegate whole or part tasks to the right person, 7) support and improve teachers’ morale, 8) encourage teachers to work on their full capability, 9) realize the importance of their own responsibility, 10) work and encourage everyone to see and work toward same school’s vision and goals.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account