DSpace Repository

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบ Problem-based learning กับรูปแบบการสอนปกติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปริญญา ทองสอน
dc.contributor.advisor คมสัน ตรีไพบูลย์
dc.contributor.author ณัฐพร เอี่ยมทอง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:46:01Z
dc.date.available 2023-05-12T03:46:01Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7360
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบ Problem - based learning และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างวิธีสอนโดยใช้รูปแบบ Problem-based learning กับรูปแบบการสอนปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเมืองพัทยา 11 (มัธยมสาธิตพัทยา) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 2 ห้องเรียน 49 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยผู้วิจัยได้จับสลากห้องเรียนเพื่อกำหนดเป็นกลุ่มตัวอย่าง (Random selection) ได้นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 25 คน เป็นกลุ่มทดลองสำหรับจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ Problem-based learning และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 24 คน เป็นกลุ่มควบคุมสำหรับจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนปกติ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ("X" ̅) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) สรุปผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังเรียน โดยใช้รูปแบบ Problem-based learning สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน โดยใช้รูปแบบ Problem-based learning สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบ Problem-based learning สูงกว่ารูปแบบการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบ Problem-based learning สูงกว่ารูปแบบการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.subject คณิตศาสตร์ -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subject ความคิดและการคิด
dc.subject ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา
dc.title การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยรูปแบบ Problem-based learning กับรูปแบบการสอนปกติ
dc.title.alternative A comprison of mthemtics lerning chievement nd nlyticl thinking bility in mtthyomsuks 5 students using problem-bsed lerning nd conventionl teching method
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to compare Mathematical learning achicvemant and analytical thinking ability of Matthayomsuksa 5 students learning with Problem-based learning and Conventional learning. The sample used in this study consisted of 49 Matthayomsuksa 5 students at Pattaya City 11 school, Chonburi province, in the second semester of academic year 2016. There were 25 students in experimental group and the other 24 in control group. The experimental group was taught with Problem-based learning, the control group was taught with conventional learning. The data were analyzed with mean, standard deviation and t-test. The results of this research were as follows 1. The mathematical learning scores of the students taught by the Problem-based learning was significantly higher than before learning scores. 2. The analytical thinking ability of the students taught by the Problem-based Learning was significantly higher than before learning . 3. The mathematical learning achievement of the students taught by the Problem-based learning was significantly higher than those taught by the Conventional Learning. 4. The analytical thinking ability of the students taught by the Problem-based learning was significantly higher than those taught by the Conventional learning.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline หลักสูตรและการสอน
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account