dc.contributor.advisor |
วรรณี เดียวอิศเรศ |
|
dc.contributor.author |
ศิรินภา แก้วพวง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:45:59Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:45:59Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7351 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรี จะส่งผลต่อผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ที่ดี แต่การปฏิบัติในประเทศไทยยังไม่แพร่หลาย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และอิทธิพลของการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์แรกที่มารับบริการ ณ แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลศรีสะเกษจํานวน 109 ราย กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวม ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ แบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และแบบสอบถามพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับที่ยอมรับวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์โดยรวมมีความไม่เหมาะสม ( X = 6.7, SD = 2.5, range = 0-16) พฤติกรรมที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ การไม่ใช้สารเสพติด (ร้อยละ 91.7) รองลงมาคือการไม่ใช้/ สัมผัสสารเคมี (ร้อยละ 91.7) และพฤติกรรมที่ปฏิบัติน้อยที่สุด คือการรับประทานกรดโฟลิก (ร้อยละ 3.7) รองลงมาคือ การรับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันและการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันของเชื้อไวรัสเอชไอวี (ร้อยละ 8.3 เท่ากัน) การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ และทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ สามารถร่วมกันทํานายพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ ได้ร้อยละ 17.8 (R 2 = .178, p < .001) โดยการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์มากที่สุด (β = .292, p < .01) ผลการวิจัยให้ข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทางสุขภาพควรมีการรณรงค์ให้สตรีมีการรับรู้ถึง โอกาสเกิดภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ และจัดกิจกรรมให้ความรู้และส่งเสริมทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ที่ถูกต้อง เพื่อส่งผลให้สตรีมีการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อเตรียมตนเองให้พร้อมก่อนตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
ภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์ |
|
dc.subject |
ครรภ์ -- การดูแลและสุขวิทยา |
|
dc.subject |
ครรภ์ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์ |
|
dc.title |
อิทธิพลของการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ ความรู้ ทัศนคติ ต่อพฤติกรรมการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ |
|
dc.title.alternative |
The influence of perception of pregnncy risk, knowledge, nd ttitude on preconception helth behviors mong pregnnt women |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Preconception health care [PCC] practice of women would result in good pregnancy outcomes. However, PCC is not widely practiced in Thailand. The objectives of this research were to examine preconception health behaviours and determine influencing of perception of pregnancy risk, knowledge and attitude toward PCC on preconception health behaviours among pregnant women. A simple random sampling was used to recruit a sample of 109 pregnant women visiting antenatal care clinic at Si Sa Ket hospital. Four self-report questionnaires were used, including the perception of pregnancy risk, the knowledge about PCC, the attitude toward PCC on preconception, and the preconception health behaviours questionnaires. Their reliability were at acceptable level. Data were analysed by using descriptive statistics and standard multiple regression. The results showed that the overall preconception health behaviours were not appropriate ( X = 6.7, SD = 2.5, range = 0-16). The most practiced behaviour was no substance abused (91.7 %), and the following was non-use/ exposure to chemicals (91.7 %). The least practiced behaviour was folic acid intake (3.7 %), and the followings were receiving rubella vaccine and blood tests for HIV (8.3 % equally each). Perception of pregnancy risk, knowledge of PCC, and attitude toward PCC together predict preconception health behaviours with 17.8 % of variance accounted (R 2 = .178, p < .001). Perceived risk of pregnancy had the greatest influence on preconception health behaviours (β = .292, p < .01). These finding suggest that health care providers should campaign to promote perception of pregnancy risk, organize activities to increase knowledge and enhance positive attitude about PCC among pregnant women. Consequently, women would have more appropriate practice of preconception health behaviours. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การผดุงครรภ์ |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|