dc.description.abstract |
ยาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติและเป็นภัยคุกคามต่อคุณภาพชีวติของเยาวชนก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อผู้เสพ ครอบครัว สังคม เศรษฐกิจและประเทศชาติการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาส กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 130 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลเจตคติต่อการใช้สารเสพติด สัมพันธภาพในครอบครัว สัมพันธภาพกับเพื่อน สัมพันธภาพกับครูการมองโลกในแง่ดีอัตมโนทัศน์และพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติด มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคอยู่ระหว่าง .76-.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนของพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติด เท่ากับ 3.77 (SD =.85) ซึ่งจัดอยู่ในระดับมาก ตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติด ได้แก่ สัมพันธภาพในครอบครัวอัตมโนทัศน์สัมพันธภาพภาพกับเพื่อน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (β =.249, .240, .196, .185, p<.01 ตามลำดับ) ตัวแปรทำนายทั้งสี่สามารถร่วมทำนายพฤติกรรมป้องกันการใช้สารเสพติดได้ร้อยละ 40.9 (Adjust R 2 = .390, F = 4.942, p<.05) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลโดยเฉพาะที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพจิต และจิตเวช ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัวอัตมโนทัศน์ สัมพันธภาพกับเพื่อน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส และในวัยรุ่น |
|
dc.description.abstractalternative |
Drug addiction is a national problem and threat to quality of life of youths. It causes negative impacts to the drug users themselves, their families, society, economic and nation. The purpose of this study was to determine factors influencing drug preventive behavior among students in the opportunity expansion schools. Simple random sampling was used to recruit a sample of 130 students studying in theopportunity expansion schools at Numkhun District, Ubon Ratchathani Province. Data were collected from March to April 2017. Research instruments consisted of a demographic questionnaire, personal information record, the attitude questionnaire, the family relationship questionnaire, the friend relationship questionnaire, the teacher relationship questionnaire, the optimism scale, the self-concept questionnaire, and the drug preventive behavior questionnaire. Cronbach, s alpha reliabilities ranged from .76-.95. Data were analyzed by using descriptive statistics, Pearson’s correlation coefficients, and Stepwise multiple regression analysis. Results showed that the mean score of drug preventive behavior was in highlevel (M =3.77, SD = .85).Family relationships, self-concept, friend relationships, and GPA predicted drug preventive behavior (β = .249, .240, .196 and .185, p< .01respectively). These four significant factors accounted for 40.9% (Adjust R 2 = .390, F = 4.94, p< .05) of the variance in explanation of drug prevention behavior. These findings suggest that nurses, especially who are responsible for psychiatric and mental health, should promote family relationships, self-concept, friend relationships, and GPA in order to prevent behavior of drug or substance abuse in students in the opportunity expansion schools and adolescents. |
|