DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิณห์จุฑา ชัยเสนา ดาลลาส
dc.contributor.advisor ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.author พุทธิพร พงศ์นันทกุลกิจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:45:56Z
dc.date.available 2023-05-12T03:45:56Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7342
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)-- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract พฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติด เป็นสิ่งที่สำคัญเพราะช่วยปกป้องบุคคลไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 108 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 8 ชุด คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน ความผูกพันในครอบครัว พฤติกรรมการเปิดรับสื่อด้วยปัญญา การมองโลกในแง่ดี ความแข็งแกร่ง ในชีวิต และพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสัมประสิทธิ์ แบบสหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติดภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.90, SD = 8.5) ตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติด ได้แก่ ความแข็งแกร่งในชีวิตพฤติกรรมการเปิดรับสื่อด้วยปัญญา และทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติด (ß =.81, p< .001; ß = .23, p< .05; ß = -.29, p< .05 ตามลำดับ) ซึ่งตัวแปรทั้งสามสามารถ ร่วมทำนายพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติดได้ร้อยละ 61.5 (R 2 = .615, Adjust R 2 = .604, F = 4.840, p< .001) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับวัยรุ่นและพยาบาล โดยเฉพาะพยาบาลด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมความแข็งแกร่งในชีวิตพฤติกรรมการบริโภคสื่อด้วยปัญญา และทัศนคติต่อการใช้ยาเสพติดเพื่อป้องกันการใช้ ยาเสพติดในนักเรียนต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ยาเสพติด
dc.subject ยาเสพติดกับเยาวชน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการใช้ยาเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
dc.title.alternative Fctors influencing drug preventive behviors in high school students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Drug preventive behavior is a significant factor to protect people from involving drugs. The purpose of this study was to determine factors influencing drug preventive behavior among high school students. Research participants were 108 high school students in Tha Mai district, Chantaburi province. Data were collected from May to July 2017. Instruments used for data collection included Personal Information Questionnaire, Attitude Toward Drug use Questionnaire, Peer Group Influencing Questionnaire, Family Engagement Questionnaire, Media Exposure Behavior with Critical Thinking Questionnaire, Revise Life Orientation Scale, Resilience Questionnaire, and Drug Preventive Behavior Questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistic, Peason’s product moment correlation coefficient, and Stepwise multiple regression. Result revealed that drug preventive behavior was at a high level ( = 3.90, SD = 8.5). The significant predicting factors were resilience, media exposure behavior with critical thinking, and attitude toward drug use (ß = .81, p< .001; ß = .23, p< .05; ß = -.29, p< .05 respectively). The percentage of total variance explained by these factors among students was 61.5 (R 2 = .615, Adjust R 2 = .604, F =4.840, p< .001) The finding suggested that personnel who works with adolescents, nurses, especially, mental health and psychiatric nurses, should concern about promoting resilience, media exposure behavior with critical thinking, and attitude toward drug use in order to prevent substance use among students.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account