dc.contributor.advisor |
นพคุณ บุญกระพือ |
|
dc.contributor.author |
สมเดช โสภณดิเรกรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:45:51Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:45:51Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7331 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (วศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
งานนิพนธ์ฉบับนี้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงรูปแบบของทางแยกที่ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการห้ามรถเลี้ยวขวา ณ บริเวณทางแยกโดยให้รถที่ต้องการเลี้ยวขวาให้เลี้ยวซ้ายและทำการกลับรถบริเวณจุดกลับรถที่ได้มีการออกแบบทางเรขาคณิตใหม่อย่างเหมาะสม ผลจากการจัดการทางแยกรูปแบบนี้ส่งผลให้เกิดการลดจังหวะสัญญาณไฟจราจรจาก 4จังหวะ เหลือเพียง 2 จังหวะและเป็นการจราจรในทิศทางตรงเพียงเท่านั้นที่วิ่งผ่านทางแยกสำหรับทางแยกกรณีศึกษาได้คัดเลือกทางแยกบนทางหลวงหมายเลข 344 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 3121 ที่ กม.89+232 (แยกบางคล้า) โดยได้ทำการสำรวจกายภาพของทางแยก ปริมาณจราจรและระบบสัญญาณไฟจราจรของชั่วโมงเร่งด่วนในปัจจุบัน จากนั้นทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพของทางแยกกรณีศึกษาที่เปลี่ยนไประหว่างสภาพปัจจุบันและภายหลังการปรับปรุงสำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ โปรแกรม SIDRA Intersection ซึ่งเป็นโปรแกรมวิเคราะห์ทางแยกสัญญาณไฟจราจรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยตัวแปรด้านการจราจรที่ถูกนำมาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของทางแยก ได้แก่ ค่าระดับความอิ่มตัวของทางแยก (Degree of saturation) เวลาความล่าช้า (Control delay) ความยาวแถวคอย (Queue length) และระดับการให้บริการ (Level of service) เป็นต้น ผลจากการศึกษาพบว่า หลังปรับปรุงทางแยกในรูปแบบใหม่สามารถลดค่าระดับความอิ่มตัวที่ลดลงจาก 4.446 เหลือ 0.814 ทำให้ความยาวแถวคอยลดลงจากเดิม 578 คัน เหลือ 30 คัน ส่วนระดับการให้บริการจากเดิมที่อยู่ระดับ F เปลี่ยนไปอยู่ที่ระดับ B เป็นเพราะค่าความล่าช้าเฉลี่ยจาก 1,571.3 วินาที ลดลงเหลือ 10.6 วินาที ทั้งนี้การปรับปรุงรูปแบบทางแยกในการศึกษาวิจัยนี้สามารถทำได้บนทางแยกนอกเมืองอื่นทั่วไปที่มีเขตทาง 80 เมตรได้ และเป็นการปรับปรุงที่ใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างสะพานลอย (Overpass) และก่อสร้างได้รวเร็วแต่ส่งผลช่วยความคล่องตัวบริเวณทางแยกได้อย่างมาก |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม -- กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง |
|
dc.subject |
กฎจราจร |
|
dc.subject |
สัญลักษณ์และสัญญาณจราจร |
|
dc.title |
การศึกษาการจัดการทางแยกสัญญาณไฟจราจรด้วยรูปแบบการลดจังหวะสัญญาณไฟในทิศทางเลี้ยวขวา กรณีศึกษาสี่แยกบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา |
|
dc.title.alternative |
The study of signlised intersection mnment by reducing the rightturn movement phses : cse study t Bng Khl intersection, Chchoengso |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
This independent study is aimed to improve operational performance of signalised intersections by restricted right-turn movement at the intersection. Right-turn traffics require to make left-turn and then make a turn at the proper geometric designed Median U-Turn. The proposed improvement is to change the number of signal phases from four to two phases and to make the movements at intersection remain only the through traffics. The intersection of Highway No. 344 and Highway No. 3121 KM 89+232 (Bang Khla Intersection) was selected to be the case study. The existing intersection geometry and traffic data during the peak hours were collected. The comparison of performance measures between before and after both geometric and signalised enhancement is conducted using SIDRA intersection, one of the most widely-used software tool for signalised analysis. The major measurement parameters are Degree of Saturation, Control delay, Queue length and Level of Service (LOS). As the results of the study it was found that the overall operational at the intersection is improved dramatically by reducing the degree of saturation at the intersection from 4.446 to 0.814, shortening the queue length from 578 vehicles to 30 vehicles and also improving the Level of service from levelF to B resulting from reducing average control delay from 1571.3 to 10.6 seconds. The study has suggested that this intersection enhancement concept can be implemented in suburban or rural highway with 80 meters right of way (R.O.W.). In addition, the proposed concept can be applied to different configuration of intersections, which incurs less construction costs and construction durations, when compared to conventional practice such as underpasses and overpasses. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
กลุ่มวิชาเทคโนโลยีการจัดการงานก่อสร้าง |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|