DSpace Repository

ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภรรยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรรัมภา ไวยมุกข์
dc.contributor.author ชลชญา วงศ์ชญาอังกูร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:43:00Z
dc.date.available 2023-05-12T03:43:00Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7290
dc.description งานนิพนธ์ (น.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อยกเลิกข้อยกเว้นความรับผิดให้แก่สามีที่ข่มขืน กระทําชําเราภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย โดยมุ่งให้เกิดความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันและเพื่อเป็นการคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่ถูกกระทําให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเพื่อแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติระหว่างเพศและขจัดความรุนแรงที่กระทําต่อผู้หญิงจากการศึกษาพบว่าการข่มขืน กระทําชําเราระหว่างสามีภริยาจะเป็นความผิดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับกับนิตินโยบายของประเทศนั้นๆ ซึ่งแตกต่างกันออกไป ในประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ซึ่งเป็นกลไกคุ้มครองบุคคลที่ถูกกระทําความรุนแรงในครอบครัวบังคับใช้อยู่แล้วโดยพระราชบัญญัติดังกล่าวให้ความคุ้มครองรวมถึงผู้ที่อยู่กินกันฉันสามีภริยา แตกต่างจาก ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 วรรคสี่ที่คู่สมรสต้องจดทะเบียนตามกฎหมายเท่านั้น ทั้งที่ กฎหมายทั้งสองฉบับออกมาเพื่อคุ้มครองสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของสามีหรือภริยาเช่นกัน จึงเสนอ ให้บัญญัติเพิ่มเติมขอบเขตคําว่า“คู่สมรส”ตามมาตรา 276 วรรคสี่ ให้หมายความรวมถึงผู้ที่อยู่กิน ฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสด้วย และบัญญัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิยามคําว่า“ความยินยอม” ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 276 โดยบัญญัติให้ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรว่ากรณีใดบ้างที่จะ ถือว่าเป็นความยินยอมที่จะทําให้ขาดองค์ประกอบความผิดฐานข่มขืนกระทําชําเรา และในกรณีคู่สมรสเป็นเด็กเสนอให้แก้ไขมาตรา 277 เพื่อให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมาตรา 276 วรรคสี่ โดยบัญญัติเพิ่มเติมเป็นมาตรา 277 วรรคหก ดังนี้ “ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทําต่อคู่สมรสที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กนั้นไม่ยินยอม ผู้กระทําความผิดต้อง ระวางโทษตามวรรคหนึ่งด้วย และในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉัน สามีภรรยาต่อไปและประสงค์จะหย่าให้คู่สมรสฝ่ายนั้นแจ้งให้ศาลทราบ ละให้ศาลแจ้งพนักงาน อัยการให้ดําเนินการฟ้องหย่าให้” ในลักษณะเดียวกันกับมาตรา 276ว รรคสี่ แต่ไม่ควรกําหนดให้ ศาลสามารถใช้ดุลพินิจลงโทษน้อยกว่าที่กําหนดไว้ได้ ทั้งนี้เพื่อความเป็นธรรมและเป็นการคุ้มครองแก่คู่สมรสที่เป็นเด็ก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การข่มขืนภรรยา -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
dc.subject พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550
dc.subject ความรุนแรงในครอบครัว -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
dc.title ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภรรยา
dc.title.alternative Criminl libility for spousl rpe
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account