dc.contributor.advisor |
สุพจน์ บุญวิเศษ |
|
dc.contributor.author |
ณัฐสินี บุญอิ่ม |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:39:13Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:39:13Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7269 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (ร.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลกลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรีจํานวน 380 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ประมวลผลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติสถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ในการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบค่าที (t-Test) และใช้ค่าสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทาง เดียว (One-way - ANOVA) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 57.89 โดยมีอายุระหว่าง 60-65 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.16 มีอาชีพค้าขายหรือมีกิจการส่วนตัวและแหล่งรายได้ปัจจุบันจากการค้าขาย/ กิจการส่วนตัวคิดเป็นร้อยละ 40 มีจํานวนเงินที่ได้รับจากแหล่งรายได้ต่อเดือน จํานวนมากกว่า 10,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.16 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีจํานวนสมาชิกในครอบครัวระหว่าง 4-6 คน คิดเป็นร้อยละ 70.26 และมีสิทธิในบ้านพักอาศัยเป็นของตนเอง คิดเป็นร้อยละ 91.32 2. สําหรับความต้องการสวัสดิการสังคม พบว่า ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรีที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ประเด็น ได้แก่ ด้านสุขภาพอนามัยและด้านรายได้ ตามลําดับ และพบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้านเรียงลําดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านที่อยู่อาศัย ด้านบริการทางสังคม และด้านนันทนาการ ตามลําดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแสนสุข ที่มีเพศ อายุ รายได้ต่อเดือน จํานวนสมาชิกในครอบครัว และการมีสิทธิในบ้านพักอาศัยต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการ สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้สูงอายุที่มีการประกอบอาชีพต่างกัน และมีแหล่งรายได้ปัจจุบันต่างกัน มีความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุไม่แตกต่างกัน |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
เทศบาลเมือง -- บริการสังคม |
|
dc.subject |
ผู้สูงอายุ -- การสงเคราะห์ |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม |
|
dc.subject |
เทศบาลเมืองแสนสุข |
|
dc.title |
การศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาเทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี |
|
dc.title.alternative |
The socil welfre needs of elderly :b cse study of Sensuk municiplity, Meung district, Chonburi province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study the social welfare needs of elderly in Seansuk Municipality, Maeung District, Chonburi Province and Compare the social welfare needs of elderly in Seansuk Municipality, Maeung District, Chonburi Province by Personal factor. The sample consisted of 380 elderly People in Seansuk Municipality. The instrument used in this study was a questionnaire. The statistics used in data analysis composed of mean, Standard deviation, t-test and One-way ANOVA. The level of statistical significance was set at 0.05. The result showed that : 1. Sample answering questionnaires was mostly male, aging between 60-65 years old, mostly career was an entrepreneur, was mostly income above 10,000 bath, Number of family members between 4-6 persons, and have a own house. 2. The research results revealed that their social welfare needs of elderly People in Seansuk Municipality was at a high level in overall. When taking each aspect into consideration, it was found that their social welfare needs was also at a very high level in the Health and income. By the way the People social welfare needs level was at a high level in social security, residential, Social services, and recreation 3. Hypothesis testing showed that elderly People in Seansuk Municipality with different gender, age, income, Number of family members, and a right of residential were Significantly related to the social welfare needs of elderly at the 0.05 level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารงานยุติธรรมและสังคม |
|
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|