DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน (ภาครัฐ) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3

Show simple item record

dc.contributor.advisor สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author กฤตยา มงคลวงษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:39:04Z
dc.date.available 2023-05-12T03:39:04Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7235
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน (ภาครัฐ) ในสังกัดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ประชากร(ผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษา) ที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 243 คน จาก 81 โรงเรียน ทำการศึกษายกร่างต้นแบบจากการถอดบทเรียนโรงเรียนที่มี ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best practice) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน จำนวน 2 โรงเรียน และประเมินผลการใช้รูปแบบจากโรงเรียนที่ทำการทดลองใช้คู่มือการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ฯ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 1 โรงเรียน คือ โรงเรียน บ้านเขาชีจรรย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ใช้ระเบียบวิธีวิจัย แบบผสม (Mixed methodology) โดยแบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) สำรวจเพื่อศึกษาสภาพ 2) ออกแบบและ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบ เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินความสำเร็จของงาน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าความถี่ (Frequency) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับปฏิบัติของสถานศึกษาเรียงจากน้อยไปหามาก สะท้อนให้เห็นว่ามีการปฏิบัติจริงในโรงเรียน “ระดับปานกลาง” แต่เมื่อเรียงอันดับตามค่าเฉลี่ย 3 ด้าน ที่มีระดับการปฏิบัติ “ต่ำสุด” ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์โรงเรียน ด้านการให้บริการชุมชน และด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน ตามลำดับ 2. รูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ของโรงเรียน (ภาครัฐ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย การดำเนินการตามบทเรียน 6 บทเรียน (แต่ละบทเรียนมี 6 ขั้นตอน) ได้แก่ 1) แนะทำ นำทาง สร้างคุณภาพ 2) ศรัทธา บารมีความดีที่ปรากฏ 3) ประสานคน ประสานใจ ประสานประโยชน์ 4) องค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่ภูมิปัญญาชุมชน 5) ร่วมคิด ร่วมสร้าง อย่างแท้จริง และ 6) รู้เท่า ก้าวทัน มั่นคง ยั่งยืน ตามลำดับ 3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า มีระดับความสำเร็จ ภายหลัง การทดลองใช้รูปแบบตามคู่มือ ฯ ครบ ทั้ง 6 บท เป็นเวลา 4 เดือน ได้ผลการประเมินอยู่ในระดับ “มากที่สุด” และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา มีความพึงพอใจในระดับ “มากที่สุด” นำไปสู่การปฏิบัติจริงได้ต่อไป
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title การพัฒนารูปแบบการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียน (ภาครัฐ) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3
dc.title.alternative THE development of model of communities reltionship dministrtion of public school under chonburi primry eductionl service re office 3
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research has the main objective to develop the model of managing the relationship between school and school’s communities (public section) within the jurisdiction of Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The population (Directors, Teachers, and Stakeholders) in this research was 243 people from 81 schools. The researcher studied the model’s prototype of the lessons from schools with “Best Practice” in which 2 schools have the relationship between schools and communities then evaluated the result from the school that used the guidebook of managing the relationship between school and communities that the researcher have created, 1 with school-Khao Chi Chan School-within the jurisdiction of Chonburi Primary Educational Service Area Office 3. The Mixed Methodology was used. The research was conducted into 3 stages 1) Survey to study the context 2) Designing, and 3) Evaluating the result from using the model. Tools used in this research were questionnaire, in-depth interview form, task completion evaluation form. The statistic used in this research is Percentage, Mean, Standard Deviation (SD) and Frequency. The results of the research were that; 1. The level real practice of schools were at in “Medium Level”, however the three lowest practices were; School Public Relation field, Community Service field, and Participation in Community Activities field, respectively. 2. The model of managing the relationship between school and school’s communities (public section) within the jurisdiction of Chonburi Primary Educational Service Area Office 3, covered 3 target groups; Director of the education institute, Teacher, and School’s Stakeholder. The managing of school composed by 6 lessons (each lesson has 6 steps); 1) Giving advice; Guiding, Create value. 2) Faith; Merit, Virtue 3) Connect people; Connect heart, Connect benefit 4) Knowledge organization to community wisdom 5) Truly think together and create together, 6) Seeing through; Catching up, Being firm, and sustainable. 3. The evaluation result in using the model by questionnaire, showed that, it possessed the success after the try-out of the guidebook in all 6 lessons within 4 months, at the “Highest Level” and from In-depth Interview of Director of the education institute, Teacher, and School’s Stakeholder in the managing of school was at the “Highest” satisfactory level, which can be further real implemented.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account