DSpace Repository

การพัฒนากระบวนการฝึกเทศน์แหล่มหาชาติสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา

Show simple item record

dc.contributor.advisor พักตร์วิภา โพธิ์ศรี
dc.contributor.advisor มานพ แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.author พระกิตติเอก ปาณิญา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:39:02Z
dc.date.available 2023-05-12T03:39:02Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7234
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเทศน์แหล่มหาชาติของพระภิกษุ 2) เพื่อการพัฒนากระบวนการฝึกเทศน์แหล่มหาชาติสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานจากพระไตรปิฎก เอกสาร บทความ ตำรา และการสัมภาษณ์เชิงลึก พระนักเทศน์แหล่มหาชาติที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในการเทศน์แหล่มหาชาติ จำนวน 20 รูป แล้วจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมและคู่มือการฝึกอบรมการเทศน์แหล่มหาชาติ จัดอบรมให้พระภิกษุ จำนวน 17 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) แบบตีความ (Interpretivism) สรุปข้อมูลสำคัญจากบทสนทนา และตรวจสอบยืนยันโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาหลักสูตรและคู่มือฝึกอบรม จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการเทศน์แหล่มหาชาติของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ด้านสภาพลักษณะของ การเทศน์แหล่มหาชาติมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ด้านสภาพทำนองการเทศน์แหล่มหาชาติ ต้องเรียนรู้ทำนองหลวง ทำนองราษฎร์ และทำนองประจำกัณฑ์ ด้านสภาพการเรียนรู้การเทศน์แหล่มหาชาติ พระภิกษุสามเณรต้องมีความสนใจแบบจริงจัง และด้านสภาพการสืบสานการเทศน์แหล่ มหาชาติ ควรฟื้นฟูการเทศน์มหาชาติแบบโบราณที่กำลังสูญหาย ปัจจุบันจัดเทศน์กันตามประเพณี พระเทศน์จึงต้องประยุกต์พอให้เข้าใจ รู้เรื่องทั้ง 13 กัณฑ์ 2. การพัฒนากระบวนการฝึกเทศน์แหล่มหาชาติสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เป็นการฝึกอบรมที่มีหลักสูตรฝึกอบรมและคู่มือการฝึกอบรมที่ประกอบด้วยบทเรียน ที่ให้ความรู้พื้นฐาน การเทศน์แหล่และฝึกการเทศน์แหล่มหาชาติ ครบทุกกัณฑ์ จำนวน 15 บทเรียน ใช้เวลาฝึกอบรมทั้งหมดตลอดหลักสูตรอย่างน้อยจำนวน 258 ชั่วโมง โดยปฏิบัติเทศน์ในสนามจริง ประเมินผลในระหว่างฝึกอบรม และหลังการฝึกอบรม ในภาพรวมพระภิกษุทุกรูปสามารถเทศน์ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม ในรายละเอียดพระภิกษุแต่ละรูปมีความถนัดในการเทศน์แหล่แต่ละกัณฑ์แตกต่างกันตามพื้นฐานของ การออกเสียงเฉพาะราย จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการเทศน์แหล่มหาชาติมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และการพัฒนากระบวนการฝึกเทศน์แหล่มหาชาติโดยการจัดอบรมช่วยให้พระภิกษุสามเณรที่มีความสนใจ แบบจริงจัง เรียนรู้และฝึกฝนจนสามารถปฏิบัติเทศน์ได้
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject แหล่
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subject เทศน์มหาชาติ
dc.title การพัฒนากระบวนการฝึกเทศน์แหล่มหาชาติสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา
dc.title.alternative Development of trnsmission of mhchrt sermon for buddhist monks
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the process of Mahachart preaching of monks and developing the process of preaching to the Mahachart sermon for monks in Buddhism. The research and development technique was used, subsequently, collecting basic information from the scriptures, documents, articles, texts, and in-depth interviews with 20 participants who were the teacher of the Mahayana Tipitaka, having the experience of preaching the Mahachat. Thereafter, created the training curriculum and manual in order to train 17 monks. Data were analyzed by the interpretivism content analysis, summarizing the key dialogues information, and confirming by 5 experts in the curriculum development and training manual. The results demonstrated that; Firstly, the process of the Mahachart preaching in Buddhist monks was that the Mahachart preaching nature was changed from the original according to the time. The Mahachart preaching inheritance should be restorating the sermon ancient, which is being lost. Nowadays, the sermon was done to serve a tradition, the monks must be able to incorporate today situation to make people understand the whole 13 chapters. in Learning Sermon. Monks and novices need serious intention, learn the Melody of royal melodiousness, the ordinary melody and the specify sermon melody. Secondly, the development of the process of preaching the Mahachart sermon for monks in Buddhism was done done fhrough creating traing curriculum and the training manual which the content contained both the Mahachart sermon basic knowledge and the practised skill, all of 15 lessons. The whole training period should be at least 258 hours for the actual field practice. The evaluations were done between and after training. In overall, the sermon has accomplished the objectives of the training. The individual, monk had the aptitude for preaching, varies according to the basis of particular voices. In conclusion, the Mahachart sermon has been adjusted from time to time. The training curriculum and the training manual were proved to be able to develop the process of preaching for monks and novices who seriously intend to learn and rehearses, so that, they are able to sermon.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account