DSpace Repository

การพัฒนาตัวบ่งชี้และครื่องมือประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพ : การประยุกต์แนวคิดโมเดลเคิร์กแพททริคและการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.advisor สุวิมล ว่องวาณิช
dc.contributor.author สุเทพ ธุระพันธ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:39:01Z
dc.date.available 2023-05-12T03:39:01Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7231
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพตามแนวคิดโมเดลเคิร์กแพททริค และพัฒนาตัวบ่งชี้ที่อธิบายปัจจัย เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพตามแนวคิดการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน 2) พัฒนาเครื่องมือประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพ ตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด และ 3) ทดลองใช้เครื่องมือประเมินและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพที่พัฒนาขึ้น ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้คือ การวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ผ่านการฝึกอบรมและผู้บังคับบัญชาของผู้ผ่านการฝึกอบรม จากสถาบันการศึกษาพยาบาลของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตามสูตรแอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .95-.98 มีความตรงเชิงโครงสร้างตามองค์ประกอบที่กำหนดเมื่อวิเคราะห์ด้วยลิสเรล วิธีการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ลิสเรล สถิติอ้างอิง และสถิติบรรยาย ได้แก่ t-test ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้สำหรับประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการอบรม (เนื้อหา กิจกรรม และวิทยากร) การเรียนรู้ (การรับรู้สมรรถนะของตนเอง, ความรู้ใหม่ และทักษะปฏิบัติการ) พฤติกรรมการปฏิบัติงาน (การปฏิบัติเชิงวิชาชีพ และ การพัฒนางาน) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (สร้างงานใหม่/ นวัตกรรม ประสิทธิภาพ/ ประสิทธิผล และ ความร่วมมือ) และการสนับสนุนจากองค์กร (ความต้องการขององค์กร และการสนับสนุนของผู้บริหาร) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพ พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2= 28.78, df = 25, p = .27, GFI = .97, AGFI = .87 และ RMSEA = .04) โดยเครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้นมีรูปแบบ เป็นแบบตรวจสอบรายการที่มีจุดตรวจสอบพฤติกรรมการปฏิบัติตามมาตรประมาณค่า 4 ระดับ และมีเกณฑ์การตัดสินระดับคุณภาพของการปฏิบัติเป็น 3 ระดับ คือ ปรับปรุง ใช้ได้ และดี ผลการทดลองใช้เครื่องมือประเมินพบว่า สามารถให้ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับพฤติกรรม การปฏิบัติงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม และผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้ใช้เครื่องมือประเมินเห็นว่า เครื่องมือประเมินที่พัฒนาขึ้นมีประโยชน์อย่างมากต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของผู้ผ่านการอบรม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject พยาบาลวิชาชีพ
dc.subject พยาบาลวิชาชีพ -- การประเมิน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject พยาบาลวิชาชีพ -- การฝึกอบรม
dc.title การพัฒนาตัวบ่งชี้และครื่องมือประเมินประสิทธิผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพ : การประยุกต์แนวคิดโมเดลเคิร์กแพททริคและการประเมินโดยใช้ทฤษฎีเป็นฐาน
dc.title.alternative Development of the indictors nd instrument to evlute the effectiveness of the professionl nurses trining project : n ppliction of kirkptrick's model nd theory-bsed evlution pproches
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were: 1) to develop the effective indicators for professional nurse training project according to the theory based assessment approach, 2) to develop the instrument for assessing the effectiveness of the professional nurse training project, and to implement the developed instrument for assessing the effectiveness of the professional nurse training project. The research method was the R&D. The research samples were the professional nurses who have gone through the training and subordinates of those nurses who attended training from one of the nursing school in a public university in Bangkok. The research tool was 5 scale rating questionnaire, with the reliability between .95-.98. The data were analyzed with LISREL, inferential statistics and descriptive statistics such as, t-test, mean, standard deviation and percentage. The research findings revealed that the professional nurse training project effectiveness indicators composed of fives components and thirteen sub components. The model of effective indicators for professional nurse training project fit well with the empirical data (2 = 28.78, df = 25, p = .27, GFI = .97, AGFI = .87 และ RMSEA = .04). The 4-scale rating and judgment criteria for measuring the effectiveness of the training project were developed into the model. The implemented results of the instruments showed high quality both validity and reliability. The post scores of nurses who attended the project showed good improvement in all aspects of measures. All experts suggested the instrument was effective and practicality for improving trainees of their practices and organizations.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account