dc.contributor.advisor |
ชัยพจน์ รักงาม |
|
dc.contributor.advisor |
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล |
|
dc.contributor.author |
อาจินต์ แซ่อุน |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:39:00Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:39:00Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7225 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Kejcie and Morgan ได้จำนวน 330 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .28-.90 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับอยู่ที่ .99 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบหลายขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. การใช้พลังอำนาจของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านพึ่งพา ( = 4.01) ด้านความเชี่ยวชาญ ( = 4.01) และ ด้านการให้รางวัล ( = 3.98) 2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ( = 4.05) ด้านการสร้างบารมี ( = 3.95) และด้านการกระตุ้นเชาวน์ปัญญา ( = 3.93) 3. วัฒนธรรมองค์กร โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน ( = 3.98) ด้านความมุ่งประสงค์ของโรงเรียน ( = 3.95) และด้านความหลากหลายของบุคลากร ( = 3.91) 4. ความทุ่มเทในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบต่องาน ( = 4.21) ด้านการมีส่วนเกี่ยวข้องกับงาน ( = 4.13) และด้านการให้เวลากับงาน ( = 4.12) 5. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูมากที่สุด คือ วัฒนธรรมองค์กร และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยตัวแปรทั้ง 2 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .489 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคูณมีค่า .239 โดยมีค่าความคาดเคลื่อน การพยากรณ์เท่ากับ .511 สร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ = 1.955 + .144 (X2) + .420 (X3) = .151 (ZX2) + .390 (ZX3) |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
ครูมัธยมศึกษา |
|
dc.subject |
ครู -- การศึกษาและการสอน |
|
dc.subject |
ครู -- ภาระงาน |
|
dc.title |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความทุ่มเทในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 |
|
dc.title.alternative |
Fctors ffecting techers' job involvement in extr lrge secondry schools under the secondry eductionl service re office 1 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study the factors those affect teachers’ job involvement in extra large secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 1. The sample size was determined with Kejcie & Morgan table, consisted of 330 secondary school teachers selected by using a Multi-Stage Sampling. The instrument for collecting the data was a set of rating scale questionnaires. The item-discrimination of the questionnaire was between 0.28-0.90 and the reliability was 0.99. The data were analyzed by the computer program using mean, standard deviation, and Stepwise Multiple Regression Analysis. The findings were as follows: 1. Power Using by school administrators in overall and each aspects were at a high level. The top 3 aspects were Expert Power ( = 4.01), Connection Power ( = 4.01), and Reward Power ( = 3.98), respectively. 2. Transformational Leadership of school administrators in overall and each aspects were at a high level. The top 3 aspects were Inspiration Motivation ( = 4.05), Charisma ( = 3.95), and Intellectual Stimulation ( = 3.93), respectively. 3. Corporate Culture in overall and each aspects were at a high level. The top 3 aspects were Sense of Community ( = 3.98), School Purpose ( = 3.95), and Diversity ( = 3.91), respectively. 4. Teachers’ Job Involvement in overall and each aspects were at a high level. The top 3 aspects were Response to work ( = 4.21), Expressions of being job involved ( = 4.13), and Sense of duty towards work ( = 4.13), respectively. 5. The most affecting factors that influenced teachers’ job involvement were Corporate Culture and Transformational Leadership. The multiple correlation coefficient of the variables was equal to .489 and the squared multiple correlation coefficient was equal to .239. The standard error of the estimate was .511. The predicting equation in the form of raw scores and standard scores were as followed: = 1.955 + .144 (X2) + .420 (X3) = .151 (ZX2) + .390 (ZX3) |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
การศึกษามหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|