DSpace Repository

ระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทิพย์เกสร บุญอำไพ
dc.contributor.advisor พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ
dc.contributor.author ธงชัย เส็งศรี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:33:34Z
dc.date.available 2023-05-12T03:33:34Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7145
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษา ขั้นพื้นฐานภาคเหนือ (VTPDC) โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและขั้นตอนของระบบระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ (2) เพื่อศึกษาผล การทดสอบระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ (3) เพื่อประเมิน ความพึงพอใจของครูที่มีต่อระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ และ (4) เพื่อรับรองระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ จากผู้ทรงคุณวุฒิ การดำเนินการวิจัยและพัฒนาใช้แนวคิด 7 Steps model (R3D4) ของ ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาองค์ความรู้หรือเนื้อหาสาระเกี่ยวกับต้นแบบชิ้นงาน จากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) ประเมินความต้องการต้นแบบชิ้นงาน จากครูประจำการจำแนกตามวิทยฐานะ ด้วย การสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง ผู้ซึ่งสมัครใจให้ข้อมูล จำนวน 15 คน จากการวิเคราะห์ผลขั้นตอนที่ 1 และ 2 (3) พัฒนากรอบแนวคิดต้นแบบชิ้นงาน (4) ถามความเห็นผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ครูเชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน ด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (5) ร่างต้นแบบชิ้นงานระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษา ขั้นพื้นฐานภาคเหนือ (6) ทดสอบและรับรองต้นแบบชิ้นงาน โดยการทดลองระบบ กับกลุ่มตัวอย่างคือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 39 ที่สมัครใจร่วมชุมชนเพื่อพัฒนาตนเอง จำนวน 3 ชุมชน ๆ ละ 10 คน 30 คน และ รับรองระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และ (7) ปรับปรุงและเขียนรายงานระบบ ผลการวิจัย ด้านองค์ประกอบระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ พบว่า มี 6 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ชุมชนกัลยาณมิตร (2) ความรู้ (3) กระบวนการเรียน (4) การพัฒนาวิชาชีพ (5) โครงสร้างสนับสนุนระบบชุมชน และ (6) การวัดและประเมินผล โดยมี 8 ขั้นตอน คือ (1) ก่อตั้งชุมชนพัฒนาวิชาชีพครู (2) เปิดตัวชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริง (3) สร้างแรงบันดาลใจ (4) ชักชวนและยอมรับเข้าร่วมชุมชน (5) ประเมินการเข้าร่วมชุมชน (6) ทำการทดสอบระบบ (7) นำไปใช้และยืนยัน และ (8) ขยายเครือข่ายชุมชน ด้านผลการทดสอบระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ พบว่า การพัฒนาวิชาชีพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ด้านการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ครูมี ความพึงพอใจต่อระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ ระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.89) และ ด้านการรับรองระบบ พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิรับรองระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ ในทุกประเด็น เหมาะสมระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.97)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ชุมชนกับโรงเรียน
dc.subject บุคลากรโรงเรียน
dc.subject ครู -- การรับรองวิชาชีพ
dc.subject ครู
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.title ระบบชุมชนพัฒนาวิชาชีพครูเสมือนจริงสำหรับการศึษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือ
dc.title.alternative A virtul techer professionl development community system for bsic eduction in Northern Thilnd
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of the study was to develop a Virtual Teacher Professional Development Community (VTPDC) system for Basic Education in Northern Thailand. This study comprised of four specific objectives: (1) to study the elements of VTPDC system for Basic Education in Northern Thailand; (2) to study the implementation results of VTPDC system for Basic Education in Northern Thailand; (3) to evaluate the satisfaction toward VTPDC system for Basic Education in Northern Thailand and (4) to validate the of VTPDC system for Basic Education in Northern Thailand from specialists. This study was a research and development based on Prof. Dr. Chaiyong Brahmawong’s 7 steps model (R3D4) for innovation development was employed namely: (1) Study the body of knowledge on Virtual Teacher Professional Development Community (VTPDC) system for Basic Education; (2) Conduct a survey of need assessment for Virtual Teacher Professional Development Community (VTPDC) system for Basic Education with the samples consisting of 15 in-service teachers, classified by the academic standing who volunteered to give the information through structured interviews; (3) Develop a conceptual model for Virtual Teacher Professional Development Community (VTPDC) system; (4) Secure the expert’s opinion on the VTPDC System conceptual framework using a focus group discussion with directors of educational service area, directors of primary and secondary schools, specialists in educational technology and educational communications, and expert teachers, totalling15 persons; (5) Develop the draft prototype of Virtual Teacher Professional Development Community (VTPDC) system for Basic Education; (6) Developmental testing and expert verifying of the Virtual Teacher Professional Development Community (VTPDC) system for basic education experts with samples of 30 teachers in the Secondary Educational Service Area Office 39; and (7) Revise and finalize the Virtual Teacher Professional Development Community (VTPDC) system for Basic Education. Major Findings: On the components of the Virtual Teacher Professional Development Community system for basic education in Northern Thailand (VTPDC) , it was found that the system components comprising of six components: (1) Friendly community, (2) Knowledge, (3) Learning Process (4) Professional Development, (5) Community System Supportive Structure, and (6) Measurement and Evaluation. There are eight major steps: (1) Establish the VTPDC; (2) Launching VTPDC; (3) Creating Inspiration for VTPDC; (4) Persuading Community Members’ Acceptance and Participation; (5) Evaluating Teachers’ Participation; (6) Conducting the Developmental Testing of the VTPDC; (7) Implementing and Confirming the Virtual Teacher Professional Development Community (VTPDC) system for Basic Education; and (8) Expanding VTPDC for Basic Education Network. On the results of the experiment on VTPDC for Basic Education. It was found that there was a significant progress in p rofessional development. On the teachers’ satisfaction, it was found at the highest level ("X" ̅ = 4.89) , and on the experts’ verification of the VTPDC system, it was found that the qualified senior experts verified that the VTPDC system for Basic Education was at the highest level (4.97)
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account