DSpace Repository

การศึกษาพหุระดับภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมุทร ชำนาญ
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author รณภพ ตรึกหากิจ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:33:33Z
dc.date.available 2023-05-12T03:33:33Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7143
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อศึกษาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการระดับครู และระดับโรงเรียน ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 84 คน และครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1,050 คน รวมทั้งสิ้น 1,134 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 2 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม HLM ในการวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับ ผลการวิจัย พบว่า 1. ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยระดับครู ด้านการมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน การนิเทศการสอน การพัฒนาหลักสูตร การกำกับติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับนักเรียน การพัฒนาตนเอง และการจัดสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ปัจจัยระดับโรงเรียน ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน การจัดให้มี สิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ และการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรการประสานงานด้านการใช้หลักสูตร ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยการมีส่วนร่วมกำหนดเป้าหมายของโรงเรียนต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน และตัวแปรการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพการเรียนรู้ ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยการนิเทศการสอนต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรการควบคุมการใช้เวลาในการสอน ตัวแปรการดูแลเอาใจใส่ครูและนักเรียน และตัวแปรการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครู ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject ภาวะผู้นำทางการศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารการศึกษา
dc.subject ผู้บริหารโรงเรียน (มัธยมศึกษา)
dc.title การศึกษาพหุระดับภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
dc.title.alternative A study on multi-level of ledership ffecting the effectiveness of secondry schools under the office of bsic eduction commission
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative he purposes of this research were to investigate the effectiveness of secondary schools under the Office of Basic Education Commission, and to study academic leadership factors upon the school effectivness as classified by teacher level and school level. The samples, derived by means of multi-stage random sampling, devided into 2 groups from secondary schools, consisted of 84 administrators and 1,050 teachers, totally 1,134 persons. The instruments of the study were 2 sets of 5 scale rating questionnaires. The data were analysis by SPSS for descriptive statistics and HLM for multi-level factors. The research found that: 1. The effectiveness of secondary schools under the Office of Basic Education Commission to study were at a high level. 2. The teacher level factors; the aspect of participation in setting school goal, the instructional supervision, curriculum development, evaluation of student progress, learning activities, providing incentives for students, self-development, and promoting conditions for learning factors affected the effectiveness of secondary schools with statistically significance at .05 level. 3. The school level factors; the monitoring of student progress, providing incentives for learning, and supporting for professional development factors affected the effectiveness of secondary schools with statistically significance at .05 level. The coordination of curriculum implementation factor affected the regression coefficient of participation in setting school goal on the effectiveness of secondary schools with statistically significance of .05. The monitoring of student progress and providing incentives for learning factors affected the regression coefficient of instruction supervision on the effectiveness of secondary schools with statistically significance of .05. And the controlling of instruction duration, giving care of teachers and students and providing incentives for teachers factors affected the regression coefficient of learning activities factor on the effectiveness of secondary schools with statistically significance at .05 level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline บริหารการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account