DSpace Repository

ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเกาะสีชัง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author มนตรี บูชาพรรณ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:29:43Z
dc.date.available 2023-05-12T03:29:43Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7066
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา เปรียบเทียบและหาแนวทางการพัฒนา ระบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อําเภอเกาะสีชัง สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี จําแนกตามเพศ อายุและระดับการศึกษากลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเกาะสีชัง สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี ในปี การศึกษา 2560 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 118 คน โดยวิธีการสุ่มแบบ แบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามระดับการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัยครั้งนี้เป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Likert scale) ได้ค่าอํานาจจําแนกระหว่าง . 26 -.90 โดยมีค่าความเชื่อมั่น .94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย ( X ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเกาะสีชัง สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียง 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการประเมินผล ด้านการวางแผน ด้านการดําเนินงานและติดต่อสื่อสาร 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเกาะสีชัง สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี จําแนกตามเพศโดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดปัญหาและด้านการวางแผน แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการดําเนินงานและติดต่อสื่อสาร ด้านการประเมินผล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ 3. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเกาะสีชัง สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี จําแนกตามอายุและระดับการศึกษา โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดําเนินงานและติดต่อสื่อสาร และด้านการประเมินผล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการกำหนดปัญหา แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. แนวทางการพัฒนาปัญหาการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเกาะสีชัง สังกัดสํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอําเภอเกาะสีชังควรจัดตั้งคณะกรรมการดําเนินงานประชาสัมพันธ์ที่มีขอบเขตอํานาจหน้าที่ชัดเจน ควรดําเนินการจัดตั้งคณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ เป้าหมายของการประชาสัมพันธ์ให้ชัดเจน ควรจัดกำหนดขั้นตอนการดําเนินงานประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจน และควรจัดตั้งคณะกรรมการดําเนินงานประชาสัมพันธ์ด้านการประเมินผล
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษาตามอัธยาศัย
dc.subject การศึกษาผู้ใหญ่
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject การศึกษานอกระบบโรงเรียน -- การบริหาร
dc.subject ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย -- การบริหาร
dc.subject ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย -- การประชาสัมพันธ์
dc.title ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบการบริหารงานประชาสัมพันธ์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอเกาะสีชัง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Problems nd guidelines for the development of public reltins dministrtive system for the non-forml nd informl eduction center t Kohsichng district under the Choburi provincil office for non-forml nd informl eduction
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were to study problems and guidelines for the development of a Public relations administrative system for the Non-formal and Informal Education Center at Kohsichang District under the Chonburi Provincial Office for Non-formal and Informal Education. According to the Krejcie and Morgan table, the minimum sample size in this study was determined as 118 students at the Non-formal and Informal Education Center at Kohsichang District during 2017 academic year. Stratified random sampling technique was used to identify the participants in this study. The data collection instrument in this study was a fivepoint-rating-scale questionnaire. The questionnaire has its item discriminating power between .26-.90. The reliability of this questionnaire was .94. The statistical methods used in this study were Percentage, Average ( X ), Standard Deviation (SD), t-test, One way ANOVA and Scheffe's method of multiple comparison test. The research reached the following conclusions: 1. Problems regarding the Public relations administration in the Non-formal and Informal Education Center at Kohsichang District under the Chonburi Provincial Office for Nonformal and Informal Education were at a moderate level. The major problems involved evaluation, planning and operations, and following up work. 2. The comparison of the Public relations administrative system for the Non-formal and Informal Education Center at Kohsichang District under the Chonburi Provincial Office for ช Non-formal and Informal Education as classified by the gender of the participants showed a statistically significant difference at 0.05 level in the areas of identifying problems and planning. This study reported no statistically significant difference in the areas in relation to operations and communications as well as evaluation. 3. The comparison of the Public relations administrative system for the Non-formal and Informal Education Center at Kohsichang District under the Chonburi Provincial Office for Non-formal and Informal Education as classified by age and educational background of the participants showed no statistically significant difference in the areas of planning, operations and communication, and evaluation. However, there was a statistically significant difference at 0.05 level in the area of problem identification. 4. Guidelines for the development of a Public relations administrative system for the Non-formal and Informal Education Center at Kohsichang District under the Chonburi Provincial Office for Non-formal and Informal Education included setting up a committee who are in charge of setting up objectives and goals, making a clear outline regarding work process and setting up a committee team to help evaluate the work of Public relations.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account