DSpace Repository

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามเทคนิคของโพลยาที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Show simple item record

dc.contributor.advisor เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
dc.contributor.advisor กิตติมา พันธ์พฤกษา
dc.contributor.author จุไรรัตน์ สอนสีดา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:29:41Z
dc.date.available 2023-05-12T03:29:41Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7057
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามเทคนิคของโพลยา ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามเทคนิคของโพลยา หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามเทคนิคของโพลยา 2) แบบทดสอบมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบทดสอบความสามารถใน การแก้โจทย์ปัญหา และ 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบสองกลุ่มสัมพันธ์ และการทดสอบแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามเทคนิคของโพลยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามเทคนิคของโพลยา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ฟิสิกส์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์
dc.subject วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.title ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามเทคนิคของโพลยาที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
dc.title.alternative The effects of 7e lerning cycle with poly’s problem solving techniques on scientific concepts, problem solving bilities, nd ttitude towrds physics of eleventh grde students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to compare scientific concepts, problem solving abilities, and attitude towards physics of eleventh grade students after using 7E learning cycle with Polya’s problem solving techniques with before using that and to compare scientific concepts of eleventh grade students after using 7E learning cycle with Polya’s problem solving techniques with the 70 percent criteria. The participants were 32 eleventh grade students who studied in the second semester of 2016 academic year from Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University using cluster random sampling. The research instruments were 1) 7E learning cycle with Polya’s problem solving techniques lesson plans, 2) scientific concepts test, 3) problem solving abilities test, and 4) attitude towards physics scale. The data were analyzed using mean, standard deviation, paired sample t-test, and one sample t-test. The results were summarized as follows: 1) the posttest scores of scientific concepts, problem solving abilities, and attitude towards physics of eleventh grade students after learning with the 7E learning cycle with Polya’s problem solving techniques were statistically significant better than the pretest scores .05 level. 2) the posttest scores of scientific concepts of eleventh grade students after learning with the 7E learning cycle with Polya’s problem solving techniques were statistically significant better than the requirement criteria at .05 level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การสอนวิทยาศาสตร์
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account