DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.author ปฏิมากาญจน์ แสนโสภาวัน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:29:36Z
dc.date.available 2023-05-12T03:29:36Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7037
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอ บ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 2) เพื่อศึกษาการจัดการเรียน การสอนของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 92 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย (Simple random sampling) โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 อันดับ มี 2 ตอน รวม 50 ข้อ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ และ 2) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .54 และ .83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านความสามารถในการพัฒนา งานด้านความสามารถในการวางแผน และด้านความมีลักษณะการเป็นผู้นำทางวิชาการ 2) การจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18โดยรวมมีการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยมากไปน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผลตามสภาพจริง ด้านการใช้สื่อและเทคโนโลยี และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์กันกับการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอ บ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ระบบการเรียนการสอน
dc.subject ครู -- การศึกษาและการสอน
dc.subject โรงเรียน -- การบริหาร
dc.subject โรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา จังหวัดระยอง
dc.subject ครูมัธยมศึกษา (เขตการศึกษา 18)
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนบ้านฉางกาญจนกุลวิทยา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18
dc.title.alternative Reltionship between cdemic ledership nd lerning mngement of techer Bnchngkrnchnkulwitty school Bnchng Ryong in the secondry eductionl service re office 18
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study: 1) the level of academic leadership of teachers at Banchangkarnchanakulwittaya school, Banchang, Rayong under the secondary educational service area office 18, 2) the level of learning management of teacher at Banchangkarnchanakulwittaya school 3) the relationship between academic leadership and learning management the teachers. The instrument for the data collection five-rating-scale questionnaire. The sample in this study was 92 teachers Banchangkarnchanakulwittaya school, Banchang, Rayong under the Secondary Educational Service area Office 18. Statistics used for data analysis were Percentege, Mean, Standard Deviation and Pearsons Corelation Coefficient. The results were that: 1) the level of academic leadership of teachers at Banchangkarnchanakulwittaya school were at high level ranging from the ability to develop their own job, planning ability and having academic leadership, respectively 2) the level of learning management of the teachers were at high level ranging from authentic assessment, using instructional media, student-centered instruction research and development, and classroom management respectively. 3) the relationship between academic leadership and learning management of teachers at the school was at the moderate level with the statistical significant at the .01 level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account