DSpace Repository

การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) : กรณีศึกษาพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author อภิวัฒน์ ห่อเพชร th
dc.contributor.author ธีระพงษ์ ภูริปาณิก th
dc.contributor.author พรพรรณ วิศาลวรรณ์ th
dc.contributor.author สุรีย์พร ปั้นเปล่ง th
dc.contributor.author ศิริพร รูปเล็ก th
dc.contributor.author ชลธิชา แป้นจันทร์ th
dc.contributor.author สุภาวรรณ ธรรมสาโร th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:53:02Z
dc.date.available 2019-03-25T08:53:02Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/702
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) : กรณีศึกษาพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในลักษณะที่เป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชนบริเวณพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เพื่อศึกษาวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ศักยภาพและอุปสรรคของแหล่งท่องเที่ยวใหม่บริเวณพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวใหม่บริเวณพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ที่มีผลต่อการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีจุดแข็งในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดังนี้คือ อ่างเก็บน้ำประแสร์สามารถพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูงของจังหวัดระยองต่อไปในอนาคตได้ เพราะโดยพื้นที่เกือบ 25,000 ไร่ นับว่าเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก หากทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้วย จะเกิดผลดีตามมา คือ เสริมฐานะทางเศรษฐกิจของประชาชนในท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อีกทางหนึ่ง , ประชาชนเริ่มมีการรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมในชุมชน และมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อรองรับในการท่องเที่ยว , ทรัพยากรธรรมชาติยังไม่ถูกทำลาย , ทำเลที่ตั้งเหมาะสมและมีสภาพภูมิศาสตร์เหมาะสมแก่การท่องเที่ยว , ตัวอ่างเก็บน้ำประแสร์และทำนบดินปิดช่องเขาต่ำ สามารถพัฒนาเป็นจุดชมวิวและจุดแวะพักของนักท่องเที่ยวได้ , การคมนาคมสะดวกไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากและสามารถให้บริการได้ตลอดปี พื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีจุดอ่อนในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังนี้ คือ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำยังไม่ถึงระดับที่กักเก็บ จึงยังไม่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ , กรมชลประทานยังไม่อนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำ ทำให้การพัฒนาด้านท่องเที่ยวยังไม่เป็นรูปธรรม , การกว้านซื้อที่ดินของนายทุน ในพื้นที่ติดกับอ่างทำให้การเข้าไปพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทำได้ล่าช้า , ประชาชนในพื้นที่และบุคลากรของ อบต. ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในบทบาท อำนาจ หน้าที่ของการจัดการเกี่ยวกับปัญหาในพื้นที่ , ถนนหนทางในเขตหมู่ 4 ยังไม่สะดวกต่อการสัญจรไปมา , ไฟฟ้าสาธารณะ มีไม่ทั่วทุกซอย และระบบไม่ดีพอ , น้ำประปามีความสะอาดไม่เพียงพอต่อการนำมาบริโภค และน้ำประปายังมีไม่ทั่วถึง , ขาดการประชาสัมพันธ์ และการให้บริการข่าวสาร ข้อมูลแก่ประชาชน , ประชาชนขาดทักษะในการรวมกลุ่ม , ประชาชนยังขาดจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในการใช้และอรุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ , ขาดการพัฒนาสถานที่และอาชีพที่เด่นของหมู่บ้านที่จะเป็นจุดขายในการท่องเที่ยว , หน่วยงานภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุนน้อยมากโดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมการปกครอง , แผนงานการท่องเที่ยว ยังไม่ได้กำหนดให้ชัดเจนทั้ง ๆ ที่หมู่บ้านแห่งนี้มีศักยภาพที่จะส่งเสริมได้ , การอพยพย้ายถิ่นของคนในชุมชนอื่นเข้ามาอยู่ในพื้นที่ทำให้ขาดความสำนึกที่ดีในการมีส่วนร่วมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังนี้คือ กระแสความนิยมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำให้จังหวัดระยองมีศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงการท่องเที่ยวด้านประเพณีและวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว การศึกษาวิถีชีวิตชุมชน และภูมิปัญญาท้องถิ่น , นโยบายรัฐบาลเอื้อค่าการพัฒนาและการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว , ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ , ความร่วมมือระหว่างประเทศ , ความมั่นคงของการเมืองระดับชาติ , การพัฒนาคุณภาพสินค้าทางการเกษตรเพื่อให้เป็นที่พอใจแก่นักท่องเที่ยว , การสนับสนุนจาก ททท. ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ , เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นภายในจังหวัด , เอกชนมีความสนใจที่จะมาลงทุนสร้าง-แหล่งท่องเที่ยว สร้างพันธมิตรและเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ , เป็นพันธมิตรและเชื่อมโยงระบบท่องเที่ยวกับจังหวัดใกล้เคียง , เนื่องจากจังหวัด ระยองมีพื้นที่ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิซึ่งจะรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจึงมีโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ระดับนานาชาติและอยู่ในเขต Eastern Seaboard เอื้อต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การท่องเที่ยว และการคมนาคมขนส่ง และพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ มีภัยคุกคามในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ดังนี้คือ การวางแผนและการพัฒนาการท่องเที่ยวยังไม่ได้รับการส่งเสริม เพราะจังหวัดระยอง เน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก , องค์กรชุมชนไม่ให้ความร่วมมือในการเฝ้าระวังสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมจึงทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมหากดูแลจัดการไม่ดี , ขาดการสนับสนุนด้านประชาสัมพันธ์ , คู่แข่งจากแหล่งท่องเที่ยวอื่นซึ่งมีชื่อเสียงดั้งเดิม และมีจุดขายชัดเจนกว่า , ไม่ได้รับความร่วมมือจากองค์กรชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น บริษัททัวร์ เป็นต้น , การบริหารจัดการที่ไม่เป็นระบบ มีความซ้ำซ้อน , รัฐให้ความสนใจในการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวน้อย , มีการทำประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่ดี ไม่ช่วยสร้างแหล่งใหม่หรือพัฒนาแหล่งที่ด้อยโอกาส , การพัฒนาเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตซึ่งไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาดังเดิมได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม และเป็นข้อจำกัดที่สำคัญต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน , ปัญหากฎระเบียนไม่เอื้อต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพราะจังหวัดระยองเน้นทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม , จังหวัดต่าง ๆ มีแนวโน้มในการแข่งขันด้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศสูง หากไม่ได้รับการพัฒนาและบริหารจัดการที่ดีอย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ไม่สามารถชิงความได้เปรียบเหนือจังหวัดอื่น , ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ยังขาดการจัดตั้งงบประมาณภายใต้ยุทธศาสตร์ของตนเอง และการตั้งงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ ยังเป็นแบบเดิม ขาดการบูรณาการกับยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอย่างจริงจัง , แนวโน้มการแข็งตัวของค่าเงินบาทอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการท่องเที่ยว , จังหวัดระยองไม่มีสถาบันการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่สอดคล้องกับการท่องเที่ยวจึงทำให้ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่จะนำความรู้มาพัฒนาการท่องเที่ยวภายในจังหวัด และการระดมทุนภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีน้อย สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ต่อการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ มีดังนี้คือ ควรเน้นเอกลักษณ์ของอ่างเก็บน้ำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพให้เห็นประโยชน์ของการชลประทาน ไม่มีมลภาวะ , ควรจัดขั้นตอนการพัฒนาตามความนิยมของตลาดท่องเที่ยว เช่น วางแผนการใช้ที่ดินให้สอดคล้อง และสามารถตอบสนองต่อการทำงานและการรักษาความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ กำหนดพื้นที่เพื่อพื้นที่ปฏิบัติงานออกจากพื้นที่ท่องเที่ยว มีกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว เช่น การให้บริการต่าง ๆ อาทิ สถานที่พักแรม ร้านจำหน่ายสินค้า ร้านอาหาร ท่าเรือ ฯลฯ โดยจัดแยกให้เป็นสัดส่วนในบริเวณเดียวกัน ทั้งนี้ต้องกำหนดจุดทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลไว้ให้เหมาะสม , ควรพัฒนาด้านกายภาพของแหล่งท่องเที่ยว และมาตรฐานการบริการ , ควรให้มีการบริหารและประชาสัมพันธ์โดยภาครัฐบาลและเอกชน โดยการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยอาจเป็นในรูปของการร่วมหุ้นหรือการให้สัมปทานระยะยาว ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขและการควบคุมของภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่ กรมชลประทาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นงานหลัก , ควรมีแหล่งข้อมูลเรื่องอ่างเก็บน้ำกับกรมชลประทาน เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาของผู้เข้าชมและประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์ของกรมชลประทานเอง , ควรจะเก็บน้ำในหน้าฝนให้เต็มอ่างเก็บน้ำก่อนที่ปล่อยสู่ภาคการเกษตร , ควรมีการส่งเสริมให้ชุมชนความตระหนักถึงบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาครัฐ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและการส่งเสริมที่ดีในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม , ควรนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบข้อมูลพื้นบานของอ่างเก็บน้ำ แหล่งท่องเที่ยวบริเวณรอบอ่าง และข้อมูลชุมชน หน่วยงานจากภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรด้านการท่องเที่ยวให้มีความรู้ ความสามารถในด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ , ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่าจังหวัดระยองมีอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก เพื่อเป็นหนึ่งทางเลือกในการมาท่องเที่ยวทะเล , ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) ควรมีการจัดตั้งงบประมาณภายใต้ยุทศาสตร์ของจังหวัดในด้านการท่องเที่ยวอย่างจริงจังและยั่งยืน , ภาคธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดระยอง ควรมีการรวมตัวที่เข้มแข็งและได้มาตรฐานการบริการมากกว่านี้ โดยการนำการบริหารจัดการแบบชุมชนมีส่วนร่วมมาใช้ในพื้นที่ท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม , กรมชลประทานควรมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนรอบอ่างเก็บน้ำเพื่อกำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรม , กรมชลประทานควรตรวจสอบการบุกรุกพื้นที่อ่างเก็บน้ำของเอกชน เพื่อเป็นการป้องกันการถือครองสิทธิโดยมิชอบ , ควรมีการรวมกลุ่มในรูปแบบสหกรณ์เพื่อมาบริหารจัดการการท่องเที่ยวบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำ ซึ่งจะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ และควรปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นในด้านการก่อสร้างหรือขยายถนน การติดตั้งไฟฟ้าตามทางเดิน การจัดการระบบน้ำประปา และการติดตั้งตู้โทรศัพท์ภายในหมู่บ้าน เป็นต้น th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การท่องเที่ยว - - แง่เศรษฐกิจ th_TH
dc.subject การท่องเที่ยว th_TH
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย - - ระยอง th_TH
dc.subject โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ th_TH
dc.subject สาขาเศรษฐศาสตร์ th_TH
dc.title การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) : กรณีศึกษาพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำประแสร์ ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง th_TH
dc.title.alternative Potentiality development of tourism the one tambon on product : case study the region around prasear stammer tambon Chumseang, amphur Wangchan, Rayong province en
dc.type Research
dc.year 2549


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account