DSpace Repository

ประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor สฎายุ ธีระวณิชตระกูล
dc.contributor.author พนมพร ทิมอ่อง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:29:33Z
dc.date.available 2023-05-12T03:29:33Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7021
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstract การวิจัยเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงานในโรงเรียนปัจจุบัน และวุฒิการศึกษา และเพื่อศึกษาหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูปฏิบัติราชการของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ จำนวน 215 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) เป็นแบบสอบถาม (Questionnarie) แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบสำรวจรายการ (Checklist) ตอนที่ 2 แบบสอบถามประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) มีอำนาจจำแนกรายข้อ .31-.79 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.94 และ 2) แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน (Unstructured interview) กำหนดคำถามเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู ผู้บริหารและผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Xˉ ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Sceffe’ method) ผลการศึกษา พบว่า 1. ประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความพึงพอใจในการทำงานของครู ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนต่อสภาวะแวดล้อมที่มากระทบทั้งภายในและภายนอกของครู ด้านความสามารถในการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีของครู ด้านความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพของผู้บริหาร และความใฝ่รู้ รักการอ่าน แสวงหาความรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครู คศ. 2 ขึ้นไป สูงกว่าครูผู้ช่วย และครู คศ. 1 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดย ตั้งแต่ปริญญาโทขึ้นไปสูงกว่าปริญญาตรี-ป. บัณฑิต และจำแนกตามประสบการณ์การปฏิบัติงาน ในโรงเรียนปัจจุบัน โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ผู้เชี่ยวชาญได้เสนอแนวทางพัฒนาประสิทธิผลของโรงเรียน ในสหวิทยาเขตเบญจสิริ ดังนี้ 1) ควรปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ เช่น ห้องสมุด หรือจัดมุมหนังสือ พร้อมจัดหาหนังสือที่มีประโยชน์เพื่อให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้านวิชาการมากขึ้น ครูผู้สอน ควรมีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย ตามสภาพจริงของผู้เรียน 2) ผู้บริหารควรมีแนวทางที่ชัดเจนในการดูแลบุคลากรเพื่อให้เกิดความอบอุ่นในการทำงาน อำนวยความสะดวกในการจัด การเรียนการสอน ดูแลสวัสดิการ และให้คำปรึกษาแนวทางในการปฏิบัติงานหรือให้คำแนะนำ เมื่อครูพบปัญหาในการทำงาน 3) ควรปรับปรุงพัฒนาสื่อ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สนับสนุนส่งเสริมครูในด้านการผลิตสื่อ การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการผลิตสื่อการสอน 4) ผู้บริหารควรมอบหมายงานให้ตรงตามความรู้ความสามารถของครู มีการประชุมประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน และแก้ไขปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพ และ 5) ผู้บริหารควรมีการติดตามข่าวสารการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่าง ๆ เพื่อจะได้ปรับกลยุทธ์การบริหารให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโดยแจ้งให้ครูทราบทันทีถึงแนวทางในการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานที่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ประสิทธิผลองค์การ
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title ประสิทธิผลของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
dc.title.alternative The ffectiveness of school in cdemic benjsiri group school under The Secondry Eductionl Service Are Office 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this independent study was to study and compare the effectiveness of school in Benjasiri Academic Group under the Secondary Education Service Area Office 2 classified by position , work experience and educational level by school teacher, and to study guidelines for the development of school’ effectiveness. The samples were identified by the use of stratified random sampling, They were 215 teachers in a school Benjasiri Academic Group. 1) The questionnaire was an instrument for collectiing the data. It has 2 parts: the first part is a checklist of taining general data and the second part is a rating scale questionnaire investigating the effectiveness of schools in Benjasiri Academic Group under the Secondary Education Service Area Office. The questionnaire has item discrimination power between 0.31-0.79 and reliability of 0.94, 2) An unconstructured interview schools in this study contains questions asking guideline fot the development of school effectiveness. Means ( ), Standard Dviation (SD), t-test, One-way ANOVA and Sceffe method were employed for data analysis. The findings revealed that 1. The effectiveness of schools in Benjasiri Academic Group under the Secondary Education Service Area Office 2 in overall and individual aspect was at a high level. Individual aspect sorted from the highest score to the lowest score revealed 1) work satisfaction aspect, 2) environment adaptation ability aspect, 3) media, innovation and technology usage aspect, 4) resource allocation ability of administrator aspect and 5) seeking knowledge, love in reading and self-knowledge acquisition aspect. 2. The efectiveness comparision of school effectiveness in Benjasiri Academic Group under the Secondary Education Service Area Office 2 classified by position in overall and individual aspect was statistically significant difference at 0.05. This study reported that teachers are higher than practitioner level and assistant teachers classified by educational level this study found difference statistically significant difference at 0.05 level. This repeially for those who have degree above master degree are higher than bachelor degree and graduate diploma, classify by work experience in overall and individual aspects showed no difference statistically significant. 3. The guidecines for the development by schools effective were suggested as follow: 3.1 School should improve learning center such as library, book corners and provide were valuable books for students, teacher should have various kids of learning assesoment teachings. 3.2 Administrators should promote the concept of vision in work life balance and arrange facilities for instruction, welfare management and career counseling. 3.3 Schools should improve media to meet the needs and of the learners support teachers inproducing instructional media. 3.4 Administrator should assign and put the right man on the right job, Monthly meeting for performance appraisal should by improve held to work process. 3.5 Administrators should updated news concerning the change of policies world to policies notify teachers adjust work process and update both internal and external change.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account