DSpace Repository

การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมุทร ชำนาญ
dc.contributor.advisor สุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.author ศุกร์ฤดี มีสมพร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:27:11Z
dc.date.available 2023-05-12T03:27:11Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7002
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามตำแหน่งและขนาดโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ปีการศึกษา 2559 จำแนกเป็นผู้บริหาร โรงเรียนละ 2 คน จำนวน 28 คน ครูที่รับผิดชอบงานด้านการจัดทำงบประมาณโรงเรียนละ 2 คน จำนวน 28 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบสำรวจรายการ (Check list) ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัญหา การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 60 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .29-.85 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .92 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามตำแหน่งและโรงเรียน โดยใช้แบบทดสอบขนาดความแตกต่าง (Effect size: ES) และเปรียบเทียบความแตกต่างของสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณโดยใช้ การทดสอบที (t-test) และจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาใช้การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับน้อย 2. ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามตำแหน่ง โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง 3. ผลการเปรียบเทียบสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject งบประมาณโรงเรียน
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
dc.title.alternative Thestudy of stte of problem the performnce-bsed budgeting in Skeo Secondry School under the Secondry Eductionl Service Are Office 7
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study problems of budget management by the use of Performance-Based management technique in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area office 7 in Sakaeo Province as classified by their statues and size of school. The samples in this study were28 administrators and 28teachers in Sakaeo Secondary School under the Secondary Educational Service Area office 7 in academic year 2015. The total of a selected sample were 56 people. The data collection instrument used for this research was a questionnaire divided into2 parts; Part one was a check list item surveying general information, and Part two was a set of five-point-rating-scale questions asking 60 items about Problem of budget management by the use of Performance-Based management technique in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area office 7in Sakaeo Province. Its item discriminative power was between .29-.85 and the reliability was at .92. The statistics used to analyze the data were Mean ( ), Standard Deviation (SD), Effect Size (ES), t-test and One-way analysis of variance (One- way ANOVA). The results of the research were as follows: 1. Problems of budget management by the use of Performance-Based management technique in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area office 7 in Sakaeo Province as a whole and each aspect were at a low level. 2. The comparison of Problems of budget management by the use of Performance-Based management technique in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area office 7 in Sakaeo Province classified by their status as a whole and each aspect were not different. 3. The comparison of Problems of budget management by the use of Performance-Based management technique in Secondary Schools under the Secondary Educational Service Area office 7 in Sakaeo Province classified by size of school as a whole and each aspect were different with no statistical signification.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account