DSpace Repository

การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.author ศศิวิมล ป้องวัน
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:27:06Z
dc.date.available 2023-05-12T03:27:06Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6980
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา และเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัด การศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษาและอาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นปฐมวัย ที่กำลังศึกษาอยู่อนุบาล 1-2 ของเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยอง เขต 2 จำนวน 198 คน ซึ่งได้มาโดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, p. 608) จากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ดังนี้ กำหนดชื่อนักเรียนปฐมวัยในแต่ละโรงเรียน แล้วจับฉลากชื่อออกมา 198 คน ถ้าได้นักเรียนคนใดผู้ปกครองนักเรียนคนนั้น คือ กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .36-.91 และค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่าง ทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมาก ไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการให้ความร่วมมือกับชุมชน ด้านการเลี้ยงดูที่บ้าน และด้านการสื่อสาร 2. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายการศึกษา สุนทรภู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา โดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการให้ความร่วมมือกับชุมชน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 จำแนกตามอาชีพ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณารายด้าน ได้แก่ ด้านการเลี้ยงดู ด้านการสื่อสาร ด้านการอาสาสมัคร ด้านการเลี้ยงดูที่บ้าน และด้านการให้ความร่วมมือกับชุมชน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การศึกษาปฐมวัย -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
dc.subject การบริหารการศึกษา -- การมีส่วนร่วมของบิดามารดา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.title การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัยของเครือข่ายการศึกษาสุนทรภู่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
dc.title.alternative Prents’ prticiption in erly childhood eduction mngement of Sunthonphu Eduction Network under the Ryong Primry Eductionl Service Are Office 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to investigate and to compare parents' participation in early childhood education management of Sunthornphu Education Network under the Rayong Primary Education Service Area Office 2, as classified by educational qualifications and income. The sample included parents of school children studying at kindergarten 1 and 2 in schools under Sunthornphu Education Network under the Rayong Primary Education Service Area Office 2. Based on Krejcie and Morgan's Sample Size Table (1970, p. 608), the sample of the study consisted of 198 parents of children studying at the kindergarten level of each school. A 5-level Likert scale questionnaire with the discrimination power between .36-.91 and with the reliability at .90 was used as an instrument for data collection. Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were statistical devices employed for the data analysis. In case of significant differences were found, Scheffe's paring comparison method would be applied. The findings revealed as follows: 1. Parents' participation in early childhood education management of Sunthornphu Education Network under the Rayong Primary Education Service Area Office 2, as a whole, was found at a high level. Ranked from more to less average mean scores were the aspects of community cooperation, parenting, and communication. 2. On the comparison of parents' participation in early childhood education management of Sunthornphu Education Network under the Rayong Primary Education Service Area Office 2, classified by educational qualifications, as a whole and in each particular aspect, significant differences were found at the statistical level of .05; except only in the aspect of community cooperation that there was no significant difference. 3. Parents' participation in early childhood education management of Sunthornphu Education Network under the Rayong Primary Education Service Area Office 2, classified by income, as a whole, no significant difference was found. However, when each particular aspect was taken into consideration, namely the aspect of parenting, the aspect of communication, the aspect of voluntariness, and the aspect of community cooperation, significant differences were found at the statistical level of .05.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account