DSpace Repository

การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.author วันวิสา นาโสม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:27:05Z
dc.date.available 2023-05-12T03:27:05Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6978
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาและเปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ปีการศึกษา 2559 จำแนกตามเพศ ขนาดสถานศึกษา และประสบการณ์การทำงานของครูผู้สอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 608-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง 127 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามขนาดสถานศึกษา แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .34-.69 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบ ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ในกรณีที่พบความแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของตัวแปรที่ทดสอบ จะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของเชฟเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. เปรียบเทียบการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 จำแนกตามเพศ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตาม ขนาดสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตาม ประสบการณ์การทำงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
dc.subject กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject สภาพแวดล้อมห้องเรียน
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17
dc.title.alternative Context mngement ffecting the “tech less-lern more” ctivities for the Lower Secondry Level Students in the Schools Under the Secondry Eductionl Service Are Office 17
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to investigate and to compare context management affecting the "Teach Less-Learn More" activities for the lower secondary students in the schools under the Secondary Educational Service Area Office 17, as classified by gender, school size and teachers' work experience. Based on Krejcie and Morgan's Sample Size Table (1970, p. 608), the sample of the study consisted of 127 school teachers. It was then derived by means of stratified random sampling according to school type and by means of simple random sampling using school size as a criterion. A 5-level Likert scale questionnaire with the discrimination power between .34-.69 and with the reliability at .94 was used as an instrument for data collection. Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were statistical devices employed for the data analysis. In case of significant differences were found, Scheffe's paring comparison method was applied. The findings revealed as follows: 1. The context management affecting the "Teach Less-Learn More" activities for the lower secondary students in the schools under the Secondary Educational Service Area Office 17, both as a whole and in each particular aspect, was found at a high level. 2. On the comparison of the context management affecting the "Teach Less-Learn More" activities for the lower secondary students in the schools under the Secondary Educational Service Area Office 17, classified by gender, both as a whole and in each particular aspect, no statistically significant difference was found. However, when being classified by school size, both as a whole and in each particular aspect, there was significant difference at the statistical level of .05. Also, when being classified by work experience, significant difference was found, as a whole, at the statistical level of .05.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account