DSpace Repository

บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเขาคิชฌกูฎ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.author ปัญญา คณะเมธ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:27:05Z
dc.date.available 2023-05-12T03:27:05Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6977
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามกลุ่มวิชาที่สอน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียน ระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเขาคิชฌกูฎ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2559 ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) จำนวน 105 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .69-.92 และความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) และวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเขาคิชฌกูฏ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากน้อยไปมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้า ในตำแหน่งการงานของครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และด้านการให้ความสำคัญกับการวิจัยในชั้นเรียน 2. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน จำแนกตาม กลุ่มวิชาที่สอน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการให้ การยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และด้านการมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน จำแนกตาม ขนาดของโรงเรียน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านการส่งเสริม ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงานของครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ผู้บริหารโรงเรียน
dc.subject โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject ครูประถมศึกษา
dc.subject วิจัยเชิงปฏิบัติการทางการศึกษา
dc.subject การศึกษา -- วิจัย
dc.title บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเขาคิชฌกูฎ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
dc.title.alternative Roles of dministrtors in promoting clssroom reserch for techers in elementry schools in Kho Kitchkut district, under the Chnthburi Primry Eductionl Service Are Office 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to investigate the roles of administrators in promoting classroom research for teachers in elementary schools in Khao Kitchakut District, under the Chantaburi Primary Educational Service Area Office 2, as classified by the taught subject groups and school size. The sample included teachers in elementary schools in Khao Kitchakut District, under the Chantaburi Primary Educational Service Area Office 2 in the academic year 2016. Based on Krejcie and Morgan (1970, pp. 607-610), the sample of the study, derived by means of stratified random sampling using school size as a criterion, consisted of 105 teachers. A 5-level-rating scale questionnaire with the discrimination power between .69-.92, and with the reliability at .99 was an instrument used for data collection. Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were statistical devices employed for the data analysis. The findings revealed as follows: 1. The roles of administrators in promoting classroom research for teachers in elementary schools in Khao Kitchakut District, under the Chantaburi Primary Educational Service Area Office 2, as a whole and in each particular aspect, were found at a high level. Ranked from the first three more to less average mean scores were the aspects of promotion for progress in work position for teachers conducting classroom research, responsibility towards teachers conducting classroom research, and placing importance to classroom research. 2. On the comparison of the roles of administrators in promoting classroom research , classified by the subject groups taught, as a whole and in each particular aspect, significant differences were found at the statistical level of .05, except in the aspect of recognition given to teachers conducting classroom research, and responsibility towards teachers conducting classroom research, in which no statistically significant differences were found. 3. On the comparison of the roles of administrators in promoting classroom research, classified by school size, as a whole and in each particular aspect, significant differences were found at the statistical level of.05, except in the aspect of promotion for progress in work position for teachers c
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account