DSpace Repository

การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานพัสดุโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชัยพจน์ รักงาม
dc.contributor.author นิพาดา รอดดี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:27:05Z
dc.date.available 2023-05-12T03:27:05Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6976
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานพัสดุโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งผู้ปฏิบัติหน้าที่การบริหาร งานพัสดุ ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติหน้าที่การบริหารงานพัสดุ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ และเจ้าหน้าที่พัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต 2 ใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-610) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 140 คน ดำเนินการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้ค่าอำนาจจำแนก .42-.92 และหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ได้ความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ (Scheffe) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดหาพัสดุ ด้านการควบคุมพัสดุ ด้านการจำหน่ายพัสดุ ด้านการบำรุงรักษาพัสดุ 2. การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานพัสดุของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 จำแนกตามตำแหน่งของผู้ปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำแนกตามประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียนของผู้ปฏิบัติหน้าที่งานพัสดุ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้ปฏิบัติหน้าที่การบริหารงานพัสดุในโรงเรียน เสนอแนวทางการแก้ไขการบริหารงานพัสดุ ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 ดังนี้ ควรการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะพัสดุ (Specifications) ที่จัดหาชัดเจน ควรลงบัญชีหรือทะเบียนพัสดุได้ครบถ้วนถูกต้องเป็นปัจจุบัน อยู่เสมอ หน่วยงานต้นสังกัดควรจัดสรรงบประมาณค่าซ่อมแซมบำรุงรักษาพัสดุใช้การได้ตลอดอายุการใช้งาน ควรมีความเป็นปัจจุบันในการจำหน่ายพัสดุออกจากบัญชีและทะเบียนพัสดุ เพื่อให้การบริหารงานพัสดุเป็นไป อย่างมีระบบ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject พัสดุ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject โรงเรียนประถมศึกษา -- ครุภัณฑ์และอุปกรณ์
dc.title การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขการบริหารงานพัสดุโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2
dc.title.alternative bProblems nd guided solutions for mteril supplies mngement in schools under the Chnthburi Primry Eductionl Service Are Office 2
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were to investigate and to compare the existing situations of material supplies management in schools under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2, as classified by job position of material supplies officers, their work experience, and school size. The sample included material supplies chief officers and material supplies officers in schools under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2. Based on Krejcie and Morgan's Sample Size Table (1970, pp. 607-610), the sample of the study consisted of 140 officers and then derived by means of stratified random sampling using school size as a criterion. A 5-level Likert scale questionnaire with the discrimination power between .42-.92 and with the reliability at .98 was used as an instrument for data collection. Mean, Standard Deviation, t-test, and One-way ANOVA were statistical devices employed for the data analysis. In case of significant differences were found, Scheffe's paring comparison method would be applied. The findings revealed as follows: 1. The existing situations of problems and material supplies management in schools under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2, both as a whole and in each particular aspect, were found at a medium level. Ranked from more to less average means scores were the aspects of procurement, inventory control, supply disposal, and supply maintenance. 2. On the comparison of the existing situations of material supplies management in schools under the Chanthaburi Primary Educational Service Area Office 2, classified by job position of material supplies officers, both as a whole and in each particular aspect, no statistically significant difference was found. However, when being classified by school size, both as a whole and in each particular aspect, there was significant difference at the statistical level of .05. 3. Guided solutions for material supplies management in schools under the Chantaburi Primary Educational Service Area Office 2 are as the following: specifications should be clearly stated; accounting entry or registration of material supplies should be always accurate and updated; budget for supply maintenance for lifetime use should be allocated from the original affiliation unit; supply disposal record from supply registration should be updated for the purpose of systematic material supplies management.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account