DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุเมธ งามกนก
dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.author อนุพงษ์ ชุมแวงวาปี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:13Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:13Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6947
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ด้วยวิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันขององค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัย ที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) พัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 การศึกษา เชิงปริมาณ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบ ด้านการพัฒนานวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 600 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และกลุ่มที่ 2 การศึกษาเชิงคุณภาพโดยเลือกโรงเรียนมัธยมศึกษาต้นแบบที่มีวิธี ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice) จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็น แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป LISREL 8.72 วิเคราะห์ โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม และทำการวิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพปัจจุบันขององค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมมีสภาพการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยสภาพ ปัจจุบันขององค์การแห่งนวัตกรรมที่มีสภาพการดำเนินงานลำดับสูงสุด คือ ด้านการมุ่งเน้น ความสำคัญของบุคลากรและด้านการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ รองลงมาคือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ และเป้าหมายร่วม ด้านการปรับปรุงโครงสร้างองค์การ ด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และ ด้านการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมของ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับ ข้อมูลเชิงประจักษ์(ค่า x2 =587.01,ค่าP-value=0.00, df=240, CFI =0.99, GFI = 0.93, AGFI = 0.90,ค่า RMSEA =0.049) ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเป็น องค์การแห่งนวัตกรรมได้ร้อยละ 93 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมมี 6 ตัวแปร คือ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม การพัฒนานักนวัตกรรม การทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ โครงสร้างองค์การที่เหมาะสม วัฒนธรรมองค์การที่ส่งเสริมนวัตกรรม และบรรยากาศองค์การ สร้างสรรค์ 3. รูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบ 8 ขั้นตอน คือ1)การวางแผนองค์การ มี 3 ขั้นตอน คือ การเตรียมความพร้อมโดยผู้บริหาร การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมเชิงนวัตกรรม และการวางแผน เชิงกลยุทธ์ 2)การนำองค์การ มี 1 ขั้นตอน คือ ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม 3)การจัดการองค์การ มี 2 ขั้นตอน คือ การจัดโครงสร้างองค์การ และการมุ่งเน้นการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็น องค์การแห่งนวัตกรรม และ4)การควบคุมองค์การ มี 2 ขั้นตอน คือ การตรวจสอบและประเมินผล และการปรับปรุงและพัฒนา โดยภาพรวมของรูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ใน ระดับมาก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject โรงเรียนมัธยมศึกษา -- การพัฒนา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาบริหารศึกษา
dc.title การพัฒนารูปแบบองค์การแห่งนวัตกรรมของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
dc.title.alternative The development model of innovtion orgniztion for secondry schools under the office of bsic eduction commission
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The research was a mixed methods research which composed of quantitative and qualitative research. The purposesof this research were 1) to study current condition of organization innovation for secondary schools under the office of basic education commission 2) to develop the cause effect relation model which affects the innovation of organization for secondary schools and 3) to develop model of organization innovation for secondary schools. The sample group was divided into 2 groups. The first group comprised of 600 persons are principals, vice principals and teachers who were responsible for innovation developing in the schools. Multi-stage Random Sampling is performed to acquire the sample group. The instrument was 5 scales questionnaire. The second group was used for the qualitative session. Three schools those did the best practice on innovation were selected. The instrument in this stage was a structural interview protocol. SPSS was used to analyze the descriptive data. LISREL 8.72 was used to validate the model oforganization innovation. The content analysis was used to analyze the qualitative data. The research results were; 1. The current conditionsof the organization innovation for secondary schools under the office of basic education commission are at the high level. The components to the high level were creative thinking, shared vision and goal, organizational structure improvement, effective communication, and staff center professional development. 2. The model of innovation organization for secondary schools fit with the empirical data. ( 2 =587.01, P-value=0.00, df=240, CFI =0.99, GFI = 0.93, AGFI = 0.90, RMSEA = 0.049). All variables in the model can describe the variance of innovation organization at 93%. The factors that directly affect the innovation organization are leadership of innovation, developing innovator, effective teamwork, good organizational structure, innovative culture, and creative climate. 3. There were four components and eight steps of the organization innovation for secondary schools under the office of basic education commission model were 1)planning organization composed of 3 steps; (1)preparingby administrator (2) sharing vision of innovation (3) planning strategy, 2) leading organization including;1 steps which is (4) using leadership of innovation, 3) organizing, composed of 2 steps which wereorganizing structure focusing strategy management, and 4) controlling of organization consisted of 2 steps (1) checking and evaluating (2) improving and developing. The results of model evaluation were that these four components and eight steps met the requirement.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline บริหารศึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account