dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล 2) สร้างแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล 3) ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบความถนัด ทางวิชาชีพพยาบาล และ 4) สร้างเกณฑ์ปกติของแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน สำหรับประเมินความสำคัญขององค์ประกอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล นักเรียนชั้นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 1,355 คน สำหรับหาคุณภาพของแบบทดสอบ และนิสิตชั้นปีที่ 4 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา 40 คน สุ่มแบบง่าย สำหรับการศึกษากลุ่มรู้ชัด การวิเคราะห์ผลการวิจัยครั้งนี้ คือ การวิเคราะห์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบพหุมิติแบบ Bi-factor วิธีพหุลักษณะ- พหุวิธี และเทคนิคกลุ่มรู้ชัด ผลการวิจัยพบว่า 1. แบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล ประกอบด้วย ความถนัด 7 มิติ คือ มิติตัวเลข ภาษา เหตุผล การสังเกต ความจำ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และความอดทน มีจำนวนข้อสอบทั้งหมด 67 ข้อ มิติละ 15, 5, 8, 5, 10, 9 และ 15 ข้อ ตามลำดับ 2. แบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล มีค่าพารามิเตอร์ข้อสอบรายข้อแบบพหุมิติ ได้แก่ อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 1.04 ถึง 3.58 ค่ าความยากแบบพหุมิติอยู่ระหว่าง -1.68 ถึง -0.26 มีความตรงตามโครงสร้างพหุมิติ 2 องค์ประกอบ เมื่อเทียบกับโมเดลเอกมิติ มีความแตกต่างของค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 5421.64, = 102, p .01) และค่า AIC 80678.59 85892.22, ค่า BIC 82132.43 86861.45 มีความตรงแบบลู่เข้า โดยพบว่า ค่าไค-สแควร์ ระหว่างโมเดล CTCM กับโมเดล NTCM แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ( = 108.821, = 2) ความตรงเชิงจำแนกค่าไค-สแควร์ระหว่างโมเดล CTCM กับโมเดล PCTCM และโมเดล CTCM กับโมเดล CTUM แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ( = 92.597, = 1 และ = 128.162, = 2 ตามลำดับ) และความตรงเชิงจำแนก เมื่อเปรียบเทียบเทคนิคกลุ่มรู้ชัด (t48.96 = 6.88 , p = .000) ความเที่ยงค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงทั้งฉบับ เท่ากับ 0.96 จำแนกตามมิติ มีค่า 0.84, 0.70, 0.83, 0.81, 0.90, 0.88 และ 0.92 ตามลำดับ 3. เกณฑ์ปกติระดับชาติ ของแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพพยาบาล สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เกณฑ์ปกติของความสามารถ ( ) คะแนนเปอร์เซ็นต์ไทล์ และคะแนนทีปกติ มิติตัวเลข P0.30–P94.00 (T28–T66) มิติภาษา P0.80–P76.60 (T21–T59) มิติเหตุผล P0.40–P82.10 (T39–T79) มิติการสังเกต P1–P76.60 (T32–T59) มิติความจำ P0.10–P70.60 (T14–T57) มิติการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น P1.40–P85.50 (T24–T61) และมิติความอดทน P0.30–P89.30 (T24–T62) ผลการวิจัยครั้งนี้ ได้แบบทดสอบ ที่เหมาะสมสำหรับการคัดเลือกบุคคลเข้าเรียนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต |
|
dc.description.abstractalternative |
This study aimed to 1) search for nursing aptitude element, 2) Create nursing professional aptitude test, 3) Test the psychometric properties of the scale applying Bi-factor Multidimensional Item Response Theory (Bi-factor MIRT), item analysis by multidimensional discriminant and difficulty, and 4) Construct the National Norms for nursing professional aptitude test. The sample consisted of 3 groups, the first group was 21 Nursing professional to evaluate significant of nursing aptitude element selected by purposive sampling, Group 2 were 1,355 twelfth grade students in Sciences and Mathematics Programs selected through multiple-stage random sampling and groups 3 were 40 senior Nursing students at Burapha University selected by simple random sampling for Known Group Technique. Instrument was nursing professional aptitude test. Data were analyzed by the SPSS for windows, IRT PRO2.1, M Plus and GENOVA. The results were that; 1. The Nursing Professional Aptitude Test consisted of 7 dimensions; numerical, verbal, reasoning, alertness, memory, empathy and tolerance. There were 67 items totally 15, 5, 8, 5, 10, 9 and 15 items for each of dimension, respectively. 2. The multidimensional parameter supported the quality of the test with discriminant range from 1.04 to 3.58 and multidimensional difficulty range from -1.68 to -0.26. For construct validity, the bi-factor MIRT model fit with data better than UIRT as its difference chi-square of 5421.64, ( 102, p .01) and, AIC, BIC valued less than UIRT. In addition, multitrait-multimethod tested by comparing CTCM with NTCM, a significant difference in value support convergent validity, meanwhile comparing CTCM with PCTCM, a significant difference in value support discriminant validity. Construct validity was confirmed by Known Group Technique. (t48.96 = 6.88, p = .000) For reliability, as a whole generalized ability coefficients = 0.96 (meanwhile .84, .70, .83, .81, .90, .88, .92 were for each dimension, respectively) 3. National norms of the test for student grade 12 were as follow for each dimensions: numerical aptitude was P0.30–P94.00 (T28–T66), verbal aptitude was P0.80–P76.60 (T21–T59), reasoning aptitude was P0.40–P82.10 (T39–T79), alertness aptitude was P1–P76.60 (T32–T59) memory aptitude was P0.10–P70.60 (T14–T57), empathy aptitude was P1.40–P85.50 (T24–T61) and tolerance aptitude was P0.30–P 89.30 (T24–T62) Futhermore, the tests were suitable selection student entering nursing school. |
|