DSpace Repository

การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุฑามาศ แหนจอน
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author สุพรรษา อเนกบุณย์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:08Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:08Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6933
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้ (มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดําเนินงานการประเมินคุณภาพ ระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา พัฒนาระบบประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ทดลองใช้และหาประสิทธิผลของระบบ กลุ่มตัวอยาง คือ รองผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ หรือหัวหน้างานหลักสูตรการเรียนและการสอนของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จํานวน 379 คน กลุ่มเป้าหมายที่นําระบบไปทดลองใช้และการหาประสิทธิผลของระบบมีจํานวน 5 สถานศึกษา ๆ ละ 5 คน ได้ผลการศึกษาดังนี้ ( 1. การศึกษาสภาพการดําเนินงานเกี่ยวกับประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ ลําดับความต้องการจําเป็น 4 อันดับแรก ดังนี ( 1) ด้านครูผู้สอน (PNI = 0.94) 2) ด้านคุณภาพของผู้สําเร็จการศึกษา (PNI = 0.77) 3) ด้านทรัพยากรและการจัดการ (PNI = 0.71) 4) ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และการประเมินผลผู้เรียน (PNI = 0.67) เมื่อนําผลของการศึกษาสภาพ การดําเนินงานประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ มาการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาค่าไอเกนที่มากกว่า 1.5 สกัด ได้ 4 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านการบริหารและจัดการศึกษา 2) ด้านหลักสูตรการเรียนการสอนและการประเมินผู้เรียน 3) ด้านผู้สอน 4) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน 2. การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ขั้นตอนของการดําเนินงานของระบบมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ประชุมวางแผนและทบทวน 2) การใช้เครื่องมือ 3) สรุปและรายงานผลการประเมินตนเอง 4) นําผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุง 3. ผลการทดลองใช้และการหาประสิทธิผลของระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรฯ ได้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความพึงพอใจต่อการทดลองใช้ระบบ ภาพรวม ขั้นตอนที่ 1 ประชุมวางแผนและทบทวนภาพรวม กิจกรรมของระบบ ระดับมาก ( X = 4.21, SD = 0.69) กลไกของระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.60, SD = 0.84) ขั้นที่ 2 การใช้ เครื่องมือ กิจกรรมและกลไกของระบบ ระดับมาก ( X = 4.29, SD = 0.84) และ ( X = 3.98, SD = 0.80) ขั้นตอนที่ 3 สรุปและรายงานผลการประเมินตนเอง กิจกรรมและกลไกของระบบ อยู่ในระดับมาก ( X = 4.11, SD = 0.63) และ ( X = 4.02, SD = 0.63) ขั้นตอนที่ 4 นําผลการประเมินมาพัฒนาปรับปรุง กิจกรรมและกลไกของระบบ อยู่ในระดับมาก ( X = 3.90, SD = 0.70) และ ( X = 4.07, SD = 0.77) และผลการหาประสิทธิผลของระบบการประเมินคุณภาพ ระดับฯ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ขั้นตอน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการประเมิน คือ ด้านความเป็นประโยชน์ ( X = 4.24, SD = 0.91) ด้านความถูกต้อง ( X = 4.22, SD = 0.90) ด้านความเป็นไปได้ ( X = 3.81, SD = 0.98) และด้านความเหมาะสม (X = 4.13, SD = 0.83)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การประเมินหลักสูตร
dc.subject อาชีวศึกษา
dc.subject การศึกษาทางวิชาชีพ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถานศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา
dc.title.alternative A development of the qulity evlutionl system t curiculum level certificte of voctionl eduction ccording the voctionl qulifiction frmework
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aims to 1) study the operation of the quality evaluation, 2) develop a curriculum quality evaluation system, and 3) evaluate the effectiveness of the developed curriculum quality evaluation system in vocational education, under vocational education standard framework. The sample was 379 deputy directors of academic affairs, supervisors of curriculum and instruction of the vocational education commission office. The target group, for system implementation were 25 participant from 5 vocational institutions. The research result were: 1. The operation of a quality evaluation system at a curriculum level revealed that the operation consisted of four need; 1) instructors (PNI = 0.94), 2) quality of graduates (PNI = 0.77), 3) resources and management (PNI = 0.71), and 4) curriculum and student assessment (PNI = 0.67) . The quality of the curriculum was analyzed by factors using Eigen values (> 1.5.) which is divided into 4 aspects; 1) educational management, 2) curriculum and student’s assessment, 3) instructors, and 4) supporting. 2. The development of a curriculum quality evaluation revealed four steps in the operation; 1) planning and reviewing, 2) meetings, 3) summarizing and reporting of the results of assessment. 3. Results of the implementation and the effectiveness of quality evaluation of the evaluation system. The overview of effectiveness in the curriculum quality evaluation system in vocational education showed the mean and standard deviation of the satisfaction with the trial system in 4 outcomes; 1) planning, review meeting and system activity is at a high level and the mechanism of the system is at the highest level. 2) activities and mechanisms are at a high level, 3) summarizing and evaluating the activities and mechanisms of the system are at a high level and 4) Developing the evaluation process in the system is at a high level, the mechanism is at the highest level, and the evaluation of the effectiveness of the curriculum quality evaluation system is at a high level.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account