DSpace Repository

การส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.advisor จันทร์ชลี มาพุทธ
dc.contributor.advisor สมหมาย แจ่มกระจ่าง
dc.contributor.author สาลินี บูรณโกศล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:05Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:05Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6925
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก 2) ส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและกิจกรรมส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 กิจกรรม เปรียบเทียบทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม สถิติที่ใช้ Mann-Witney U-test และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านสัมพันธภาพในอาชีพ ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพและด้านความพึงพอใจในอาชีพ อยู่ในระดับมาก และสุดท้าย ด้านความมั่นคงในอาชีพ อยู่ในระดับปานกลาง 2. การส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดย 2.1 จัดกิจกรรมส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้ 4 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงในอาชีพ ด้านความพึงพอใจในอาชีพ ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพ ลักษณะกิจกรรมมี 4 รูปแบบ ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนเป็นฐาน กิจกรรมครอบครัวเป็นฐาน กิจกรรมผู้ประกอบการเป็นฐาน และกิจกรรมท้องถิ่นเป็นฐาน การเรียนรู้ทัศนคติประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างความตระหนัก การสร้างการเห็นคุณค่าและประโยชน์ และการปฏิบัติ 2.2 การนำกิจกรรมไปใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ พบว่า หลังการนำกิจกรรมไปใช้นักเรียนกลุ่มทดลองมีทัศนคติสูงกว่านักเรียน กลุ่มควบคุม ผลการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ด้านความมั่นคงในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีในเรื่อง สร้างรายได้ที่แน่นอนให้กับครอบครัวเป็นประจำทุกปี ประโยชน์ทางด้านอาหาร สิ่งแวดล้อม และการมีที่ดินเป็นของตนเอง ทำให้ได้รับผลประโยชน์อย่างอื่น เช่น การท่องเที่ยว รีสอร์ท โฮมสเตย์ เป็นต้น ด้านความพึงพอใจในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่อง ผลตอบแทนรายได้สูง ความพอใจในวิถีชีวิต และความพอใจที่มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลมาใช้ ช่วยทำให้ การประกอบอาชีพทำสวนผลไม้มีความสะดวกสบาย ด้านความเป็นแบบอย่างในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่องแบบอย่างการประกอบอาชีพทำสวนผลไม้ที่มีการใช้ความรู้และเทคโนโลยีสมัยใหม่ แบบอย่างผู้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะแบบอย่างจากคนรุ่นใหม่ และแบบอย่างจากสื่อออนไลน์ ด้านสัมพันธภาพในอาชีพ นักเรียนมีทัศนคติที่ดีเรื่อง การมีสัมพันธภาพกับ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพทำให้ได้รับความรู้ ความคิดมากขึ้นและเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการประกอบอาชีพทำสวนร่วมกับพ่อแม่ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา -- ทัศนคติ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subject การทำสวน
dc.title การส่งเสริมทัศนคติต่ออาชีพทำสวนผลไม้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคตะวันออก
dc.title.alternative The enhncing ttitude towrds fruit grdening occuption for mttyomsuks 3 student in the Estern region of Thilnd
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to study the Mathayonsuksa 3 student,s attitude towards fruit gardening occupation in the Eastern Part of Thailand. 2) To enhance towards the attitude fruit gardening occupation for Mathayonsuksa 3 students. The sample composed of 384 Mathayonsuksa 3 students in fruit gardening occupation families. The instruments used were questionnaire and semi-structure interview guideline. The data analysis were percentage, mean, standard deviation and content analysis. Experimental group were 15 students and control group were 15 students. The instruments used were 6 activities enhancing the attitude towards fruit gardening occupation for secondary students and questionnaire. The data analized by Mann- Witney U-test and content analysis. The research finding were as follows: 1. The Mathayonsuksa 3 student ,s attitude towards fruit gardening occupation in overall was high level, by aspects consisstensive were career relationship, career satisfaction, career role model were in high level and the last was career security in middle level. 2. The enhancing attitude towards fruit gardening occupation for Mathayonsuksa 3 student were: 2.1 The activities to enhance Mathayonsuksa 3 students attitude towards fruit gardening occupation in 4 aspects; career security, career satisfaction, career role model and career relationship. The activities had 4 models; school-based activities, home-based activities, entrepreneurial-base activities and local-based activities. The activities learning attitude have 4 prosesses: learning to knowledge, learning to awareness, learning to values and benefits and learning by doing. 2.2 Comparing between experimental group and control group were sigfinigante difference at .01. The result of content analysis were: Career security dimension; student ,s attitude are enhance incomes, about food Utilized environment, owner land and turism. Career satisfaction dimension; student ,s attitude were more in satisfaction of high incomes, way of life and satisfaction of used new knowledge and technology for were comfortable occupation. Career relationship dimension; student’s attitude were more in the relationship with occupational group help more knowledge, more thinking and help together in career groups and working in fruit gardening occupation with parent help family relationship were higher.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account