DSpace Repository

ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.author วีรยุทธ เสาแก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:01Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:01Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6907
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร แรงจูงใจในการทำงานของครู ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan (1970, p. 608) ได้จำนวน 266 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งออกเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร, แบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจใน การทำงานของครู และแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียน โดยมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง 0.27 ถึง 0.87 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98, 0.98 และ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา แรงจูงใจในการทำงานของครู และประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา แรงจูงใจในการทำงานของครู และประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 โดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกระดับปานกลางถึงระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 3. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ (Xa2) และแรงจูงใจในการทำงานของครูด้านนโยบายและการบริหาร (Xb10) ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ (Xb3) และ ด้านความก้าวหน้าในงาน (Xb5) สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ได้ร้อยละ 61.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ เขียนเป็นสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Ŷ = 1.66 + .20 (Xb10) + .16 (Xb3) + .15 (Xa2) + .10 (Xb5) ẑ = .33 (Zb10) + .23 (Zb3) + .17 (Za2) + .17 (Zb5)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject โรงเรียนประถมศึกษา -- การบริหาร
dc.subject การจูงใจในการทำงาน
dc.title ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
dc.title.alternative Fctors ffecting primry schools effectiveness under the Chcheongso Primry Eductionl Service Are Office 1
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study transformational leadership of school administrators and job motivation factors of teachers those affect school effectiveness under the Chacheongsao Primary Educational Service Area Office 1. The research samples were 266 teachers of Primary Schools under the Chacheongsao Primary Educational Service Area Office 1 selected by Multi Stage Random Sampling technique. Research instrument was a five rating scale survey questionnaire on transformational leadership, teachers motivation and the school effectiveness, It had discriminant power between .27-.87 and the reliability at .98, .98 and .95. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product correlation efficiency and stepwise multiple regression analysis. The research findings were as follows: 1. The transformational leadership of school administrators, the job motivation of teachers and the school effectiveness of primary schools under the Chacheongsao Primary Educational Service Area Office 1 were found at high level. 2. The correlation between transformational leadership of school administrators, job motivation of teachers and school effectiveness of primary schools under the Chacheongsao Primary Educational Service Area Office 1 were positively correlated at the moderate to nearly high level, with statistically significant at .01 level. 3. The transformational leadership of school administrators on the inspiration motivation (Xa2) and the job motivation of teachers of primary school on the policy and administration (Xb10), the work itself (Xb3) and advancement (Xb5) can cooperatively predict the schools effectiveness at 61.10 percent and the predictive by score and standard score equations of the school effectiveness were as follows. Ŷ = 1.66 + .20 (Xb10) + .16 (Xb3) + .15 (Xa2) + .10 (Xb5) ẑ = .33 (Zb10) + .23 (Zb3) + .17 (Za2) + .17 (Zb5)
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account