DSpace Repository

การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการออกกลางคันนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอกวิทย์ โทปุรินทร์โร
dc.contributor.advisor สมพงษ์ ปั้นหุ่น
dc.contributor.author สิริกุล รัตนมณี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:25:00Z
dc.date.available 2023-05-12T03:25:00Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6900
dc.description วิทยานิพนธ์ (วทม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลาง 2) วิเคราะห์ปัจจัย การออกกลางคันที่ใช้จำแนกสภาพนิสิต และ 3) หาแนวทางแก้ปัญหาการออกกลางคัน กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคต้น ปีการศึกษา 2559 จำนวน 258 คน แบ่งเป็นสภาพรอพินิจ จำนวน 151 คน และออกกลางคัน จำนวน 107 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power และ วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการออกกลางคัน และแบบสอบถามความเป็นไปได้ของแนวทางการแก้ไขปัญหา สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์จำแนกปัจจัย และการวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ ผลการศึกษา พบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันระดับมากที่สุด ได้แก่ ภูมิหลังครอบครัว รองลงมา คือ การกำหนดเป้าหมายในการเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐาน ความยากและซับซ้อนของหลักสูตร และการบูรณาการทางวิชาการและสังคม และแนวทางแก้ไขปัญหา มีดังนี้ 1) การกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกนิสิตที่เหมาะสม 2) การสอนเสริมปรับพื้นฐาน 3) ใช้ระบบพี่เลี้ยง 4) การสร้าง แรงบันดาลใจ 5) การเสวนาที่ปรึกษา ผู้ปกครอง และนิสิต 6) การอบรมเชิงปฏิบัติการให้ที่ปรึกษา 7) การให้ทุน 8) ให้งานพิเศษเพิ่มรายได้ 9) สำรวจตรวจสอบระบบสนับสนุนการเรียนรู้ และ 10) จัดพื้นที่กิจกรรมกลุ่ม 2. ตัวแปรจำแนกสภาพนิสิต ได้แก่ ภูมิหลังครอบครัว และการบูรณาการทางวิชาการและสังคม สมการจำแนกสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 10.63 มีสมการในคะแนนมาตรฐาน คือ ZY = .645 Zภูมิหลังครอบครัว + .605 Zการบูรณาการทางวิชาการและสังคม 3. แนวทางแก้ไขปัญหาการออกกลางคันที่ควรดำเนินการและเป็นแนวทางที่กระทบ ต่อแนวทางอื่น ๆ มากที่สุด คือ การสอนเสริมปรับพื้น ซึ่งกระทบกับแนวทาง 3 แนวทาง ได้แก่ 1) การสำรวจตรวจสอบระบบสนับสนุนการเรียนรู้ 2) การจัดพื้นที่กิจกรรมกลุ่ม และ 3) การใช้ระบบ พี่เลี้ยง
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การออกกลางคัน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- นักศึกษา
dc.subject การออกกลางคันในสถาบันอุดมศึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.title การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยการออกกลางคันนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.title.alternative A discriminnt nlysis of dropout fctors undergrdute students in Burph University
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to 1) study the factors influencing the dropout of Burapha University students, 2) create discriminant equation of the dropout of Burapha University students, and 3) propose solutions for the dropout of Burapha University students. The samples were 258 undergraduate students in the first semester of academic year 2016, Burapha University, These included 151 probation students and 107 dropout students. Sample size was determined with G*Power program and stratified random sampling technique. The tools used in the research were a questionnaire surveying factors affecting students’ dropout, an interview was used to collect solution of students’ dropout while feasibility of the solution was indentified based on the questionnaire. Statistics for data analysis include frequency, percentage, Mean, Standard Deviation, Discriminant Analysis with Stepwise method, and Cross-impact analysis. The study results were that: 1. The most significant factor affecting the dropout was family background, followed by Students’ learning goals, learning support, basic knowledge, the difficulty and complexity of the program and academic and social integration. The proposed solutions were: 1) setting appropriate student selection criteria, 2) providing tutorials, 3) providing mentoring system, 4) inspiring students’ learning goals, 5) arranging meeting among student advisors, parents and students, 6) providing workshops for advisors, 7) providing scholarships, 8) offering work to support money, 9) providing and monitoring of learning support system, and 10) preparing some group activities. 2. Student status variables included family background and academic and social integration. The discriminative equation can be predicted correctly at 10.63%. The equation of the standard score is ZY = .645 Zfamily background + .605 Zsocial and academic integration 3. The solution to the problem of dropout of Burapha University students should be implemented. The guidelines affecting other approaches was basic tutorial which affects 3 approaches: 1) providing and monitoring of learning support system, 2) preparing some group activities area, and 3) providing mentoring system.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา,สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ
dc.degree.name วท.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account