DSpace Repository

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Show simple item record

dc.contributor.advisor เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร
dc.contributor.advisor อาพันธ์ชนิด เจนจิต
dc.contributor.author สลิลดา ลิ้มเจริญ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:52Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:52Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6889
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังจากได้รับการจัด กิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหากับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/11 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 50 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชัน ในการแก้ปัญหา จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ("X" ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แต่ละด้าน พบว่า ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้านการทำความเข้าใจปัญหา ด้านการวางแผนการแก้ปัญหา ด้านการดำเนินการแก้ปัญหา และด้านการตรวจสอบกระบวนการ แก้ปัญหาและคำตอบของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์
dc.subject ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
dc.title ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้เมตาคอกนิชันในการแก้ปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
dc.title.alternative The effects of orgnizing mthemtics lerning ctivities by using metcognition in problem solving on mthemticl problem solving bility nd mthemtics chievement of mthyomsuks 4 students
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to compare the student’ s mathematical problem solving ability and mathematics achievement of mathayomsuksa 4 students after using metacognition in problem solving with 70 percent achievement criterion. The subjects of this study were 50 students in mathayomsuksa 4 in the second semester of the 2016 academic year at Chonradsadornumrung school. They were randomly selected by using cluster random sampling. The instruments were; 7 lesson plans, mathematical problem solving ability test (with reliability of .96) and mathematics achievement test (with reliability of .85). The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test for one sample. The findings were as follows: 1. The mathematical problem solving ability of the sample group after obtaining metacognition in problem solving was higher than 70 percent criterion at .01 level of statistical significance. When considering mathematical problem solving ability of the sample group for each stage, it was found that the ability in understanding the problem's stage, devising a plan’s stage, carrying out the plan’s stage and looking back’s stage of the sample group was higher than the 70 percent criterion at .01 level of statistical significance. 2. The mathematics achievement of the sample group after obtaining metacognition in problem solving was higher than the 70 percent criterion at .01 level of statistical significance.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การสอนคณิตศาสตร์
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account