dc.contributor.advisor | สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์ | |
dc.contributor.author | พัชราภรณ์ พานทอง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-05-12T03:21:46Z | |
dc.date.available | 2023-05-12T03:21:46Z | |
dc.date.issued | 2560 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6866 | |
dc.description | งานนิพนธ์ (กศ.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามเพศ ระดับชั้นที่สอน และประสบการณ์การสอน และ 3) ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนสายสามัญโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 35 คน ในการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของ Krejcie and Morgan (1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า ชนิด 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .20 ถึง .82 มีค่าความเชื่อมั่น ได้เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) เบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าสถิติที่ใช้ทดสอบในการเปรียบเทียบ (t) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อศึกษาปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า โดยภาพรวม มีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ย คือ ด้านการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา และด้านการเตรียมความพร้อม ของสถานศึกษา พบว่า 1.1 ด้านการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อเรียงตามคะแนนเฉลี่ย 3 อันดับ คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการ โดยให้ คณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วม การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินโดยทุกคน มีส่วนร่วม และการนิเทศ กำกับ การติดตามผลการใช้หลักสูตรจากภายนอกสถานศึกษา 1.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เรียงตามคะแนนเฉลี่ย 3 อันดับ คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายของการจัดการศึกษา การกำหนดเวลา จำนวนน้ำหนักและจำนวนหน่วยกิต และการกำหนดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 1.3 ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา โดยภาพรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เรียงตามคะแนนเฉลี่ย 3 อันดับ คือ การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้ผู้ปกครอง นักเรียน หน่วยงานได้รับทราบและขอความร่วมมือ การจัดทำเอกสารคู่มือการทำงานอย่างถูกต้อง และการสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ให้แก่บุคลากร 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามเพศ ระดับชั้นที่สอน และประสบการณ์การสอน พบว่า แตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ผลการวิเคราะห์แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี สามารถสรุปผลได้ดังนี้ 3.1 ด้านการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ควรพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักหลักสูตร ควรมีการจัดทำแผนภูมิการปฏิบัติงานแสดงสายงาน หน้าที่ ความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการมอบหมายงาน และกระจายอำนาจงานในหน้าที่ให้บุคลากรอย่างเหมาะสม และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์หลักสูตรให้ผู้ปกครอง นักเรียนได้รับทราบ 3.2 ด้านการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีการกำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาแต่ละช่วงชั้น สัดส่วนเวลาเรียน วิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมายของการจัดการศึกษา เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลิตสื่อการเรียนรู้ สนับสนุนอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน หรือแหล่งการเรียนรู้ให้พร้อม และมีการเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แสดงความคิดเห็น 3.3 ด้านการนิเทศ กำกับติดตาม ประเมินผล ควรมีการออกแบบหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการศึกษาให้เหมาะสมกับหลักสูตรสถานศึกษา มีการกำหนดรูปแบบ วิธีการและหลักเกณฑ์การวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับแนวการวัด และประเมินผลของหลักสูตร และมีการจัดทำแผนปฏิบัติการโดยให้คณะกรรมการสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา | |
dc.subject | การวางแผนการศึกษา | |
dc.subject | โรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี | |
dc.subject | หลักสูตร -- การบริหาร | |
dc.title | ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ของครูโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี | |
dc.title.alternative | Problems nd guided development of centrl curriculum 2551 in the level of bsic eduction of techers in suphnburi sports school | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study the problems about the central curriculum 2551 in the level of basic Education of teachers in Suphanburi Sports School, 2) to compare the problems about the central curriculum 2551 in the level of basic Education of teachers in Suphanburi Sports School as classified by gender, levels of teaching and teaching experiences, and 3) to study guidelines for the development of central curriculum 2551 in the level of basic Education of Suphanburi Sports School. The samples in this research were 35 teachers of Suphanburi Sports School teaching general subjects. Using Stratified Randorm Sampling and the table of Krejcie & Morgan (1970), at least 30 teachers were the sample size in this study. The tool of this research is five-rating-scale questionnaire. The discriminative value was between .20 and .82. The reliability of the tool used in the research was at .98. The statistics used to analyze the data included Mean ( ), Standard Deviation (SD), independent samples, t-test, One-Way ANOVA and Scheffe’s. The results were concluded as follows: 1. The researcher found that there are a number of problems in overall, when ranking the problems, the top 4 problems were the supervision, monitoring and evaluation, the school curriculum preparation, and the school readiness preparation, The following details were reported. 1.1 The supervision, monitoring and evaluation In the overall, the problems are at high level, when considering the 3 rating of mean score, which are the action plan preparation by school boards are involved, the designation objectives in evaluation by everyone is involved, and the supervision, monitoring and following the result of using curriculum from outside the school. 1.2 The school curriculum preparation In the overall, the problems are at high level as well, when considering the 3 rating of mean score, this study revealed defining vision, mission, and objectives of Educational Management, managing learning time and number of weight and credits, and defining learner development activities. 1.3 The school readiness preparation In the overall, the problems are at high level too, when considering the 3 rating of mean score, this study presented promoting the curriculum to parents, students, and agencies to know and ask for cooperation, preparing properly document of workbook correctly, and raising awareness about the importance of the central curriculum 2551 in the level of basic Education to stuff. 2. The results to compare the problem about the central curriculum 2551 in the level of basic Education of teachers in Suphanburi Sports School as classified by gender, class and teaching experiences found that there were not statistically significant difference. 3. The results to study guidelines for the development of central curriculum 2551 in the level of basic Education of Suphanburi Sports School, included that: 3.1 The school readiness preparation, should 1) develop school staff to get the knowledge and understand in Curriculum, 2) prepare operation charts to show about lines, duties, responsibilities of school staff correctly and appropriately by assigning and distributing works to people properly, and 3) promote the curriculum to parents and students. 3.2 The school curriculum preparation, should 1) decide school curriculum structure in each level, learning time, vision, target of Educational Management, 2) give opportunities about planning and preparing school curriculum to stuff are involved, 3) accord with the central curriculum 2551 in the level of basic Education, 4) produce learning media, support learning and teaching equipment or learning resources to be ready, and 5) give opportunities to school boards for showing their comments. 3.3 The supervision, monitoring and evaluation, should design the rule and regulation of educational measurement, and evaluation to be appropriate to school curriculum, there is determination the pattern methodology and criteria for measurement and evaluation, and preparing action plan by school boards is involved in evaluate leaning outcome in each eight learning area. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การบริหารการศึกษา | |
dc.degree.name | กศ.ม. | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา |