DSpace Repository

การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธร สุนทรายุทธ
dc.contributor.advisor พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author อมรศักดิ์ กองสิงห์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:44Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:44Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6856
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาตัวบ่งชี้ ทดสอบความสอดคล้องของโมเดล การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาสภาพและแนวทางการบริหาร ความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งขั้นตอนวิจัยเป็น 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสร้างกรอบแนวคิดและร่างตัวบ่งชี้ ด้วยการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Content analysis) ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้ด้วยเทคนิควิจัย EDFR (Ethnographic delphi futures research) โดยผู้เชี่ยวชาญ 17 คน ขั้นตอนที่ 3 เป็นการทดสอบ ความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงเชิงระบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 400 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดล ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. ตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า 5 ตัวบ่งชี้ ด้านกระบวนการ 5 ตัวบ่งชี้ ด้านผลผลิต 2 ตัวบ่งชี้ ด้านผลกระทบ 2 ตัวบ่งชี้ และ ด้านสิ่งแวดล้อม 2 ตัวบ่งชี้ 2. โมเดลในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง มีความสอดคล้องกลมกลืน กับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า Chi-Square = 126.05, df = 37, Chi-Square/ df = 3.406, p < .05, GFI = 0.96, AGFI = 0.86, RMSEA = 0.078, SRMR = 0.031, CFI = 1.00 3. สภาพและแนวทางการบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสภาพการบริหารความเสี่ยงเชิงระบบในภาพรวมอยู่ในระดับสูง แนวทางการบริหารใช้กลยุทธ์ ได้แก่ การยอมรับความเสี่ยง (Take) การลด/ ควบคุมความเสี่ยง (Treat) การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Terminate) และการกระจาย/ โอนความเสี่ยง (Transfer)
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject การบริหารความเสี่ยง
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
dc.subject การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- การบริหารความเสี่ยง
dc.title การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารความเสี่ยงเชิงระบบสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
dc.title.alternative The deverlopment indictors of risk mngement of systems for office of Bsic Eduction Commission
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to development indicators; a consistency test of factor analysis model with empirical data, study condition and approaches of risk management of systems for school under office of basic education commission. Research was to four procedure include, The first step had make creation of conceptual framework and form indicators with content analysis of theory and literature. The second had develop indicators with ethnographic delphi futures research technique (EDFR) by 17 experts. The third had a consistency test of model risk management of systems for school under office of basic education commission with empirical data. The sampling was amount 400 school under office of basic education commission. The research instrumental was a five level rating scale questionnaire and semi structure interview form. Statistics had confirmatory factor analysis for a consistency test of model empirical data with lisrel program. The last step was study condition and approaches of risk management of systems for school under office of basic education commission by opinions of 5 experts. The findings of this research were as follows; 1. The indicators of risk management of systems for school under office of basic education commission had 5 factors 16 indicators including; factor of input 5 indicators, factor of process 5 indicators, factor of output 2 indicators, factor of impact 2 indicators, factor of environment 2 indicators. 2. The second order factor analysis model of risk management of systems for school under officee of basic education commission had goodness of fit with empirical data (Chi-Square =126.05, df = 37, Chi-Square/ df = 3.406, p < .05, GFI = 0.96, AGFI = 0.86, RMSEA = 0.078, SRMR = 0.031, CFI = 1.00). Statistical analysis results confirmed the research hypotheses. 3. The study condition risk management of systems for school under office of basic education commission had high level overall with approaches of management by 4 strategy that include take, treat, terminate and transfer strategis.
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name ปร.ด.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account