DSpace Repository

การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภูเบศ เลื่อมใส
dc.contributor.advisor ดวงพร ธรรมะ
dc.contributor.author ภัคนัน จิตต์สว่าง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:44Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:44Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6854
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดฝึกอบรม เรื่องการยิงปืนประกอบ การเคลื่อนที่เป็นคู่ สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนจากการทดสอบการฝึกปฏิบัติก่อนและหลังใช้ชุดฝึกอบรมเรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่ สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ทหารใหม่ ผลัดที่ 2ประจำปี พ.ศ. 2559 ของหน่วยฝึกทหารใหม่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 ที่ยังไม่ได้รับการฝึกวิชายุทธวิธี เรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่ จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายโดยการแบ่งชั้นภูมิ โดยผู้วิจัยทำการแบ่งชั้นภูมิกลุ่มตัวอย่างเป็นชั้นภูมิ 3 กลุ่ม โดยใช้คะแนนการทดสอบวิชาอบรม ตามหลักสูตรการฝึกทหารใหม่เบื้องต้นทั่วไปสำหรับทหารทุกเหล่าของกองทัพบก (10 สัปดาห์) พ.ศ. 2551 เป็นเกณฑ์ในการแบ่งชั้นภูมิ และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการจัดชั้นภูมิไว้แล้ว กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดฝึกอบรมเรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่ สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 2) เครื่องมือ ที่ใช้หาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม ได้แก่ แบบทดสอบการฝึกปฏิบัติก่อนและหลังการฝึกอบรม และแบบทดสอบการฝึกปฏิบัติระหว่างการฝึกอบรม 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินคุณภาพของ ชุดฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพสื่อประเภทสื่อวีดีทัศน์ และแบบประเมินเนื้อหาสาระโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4) เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และการทดสอบค่า t-test Dependent ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) ชุดฝึกอบรม เรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่ สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 = 85.67/84.67 เป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 = 80/80 2) ทหารใหม่ที่เข้ารับการฝึกอบรม มีความก้าวหน้าในการฝึกอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 -- หน่วยฝึกทหารใหม่ -- การซ้อมรบ
dc.subject ทหาร -- การฝึกอบรม
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
dc.subject การยิงปืน -- การสอนด้วยสื่อ
dc.title การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการยิงปืนประกอบการเคลื่อนที่เป็นคู่สำหรับหน่วยฝึกทหารใหม่ กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7
dc.title.alternative The development of ssistive trining pckge: squd mneuvers (bounding metthods) for New Recruit Trining Unit in 7th Antiircrft Artillery Bttlion
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this research were 1) To develop the Assistive Training package on Squad Maneuvers (Bounding Methods) for New Recruit Training Unit In 7th Antiaircraft Artillery Battalion to be effective according to E1/E2 = 80/80 enteria. 2) To compare the scores of pretest and scores of posttest after using an assistive train package: squad maneuvers (bounding methods) for new recruit training unit in 7th antiaircraft artillery battalion. The sample group were new recruit solders, second rotation 2559 B.E. from the new recruit unit in 7th antiaircraft artillery battalion that have not received bounding methods for squad maneuvers. This study has selected 30 solders by stratified random sampling according to the level of education. The instruments used were 1) The assistive training package on squad maneuvers (bounding methods) 2) The instruments of validation of efficiency the pretest and posttest. 3) The instruments to evaluate the quality of the training package, the media quality assessment and the assessment content. The statistics for data analysis were average, standard deviation, mean of E1/E1 and t-test Dependent The research results were as follows 1) The efficiency of The assistive training package was E1/E1 = 85.67/84.67 which met the target standard (E1/E1 = 80/80) 2) The difference of pretest and posttest score was statistically significant at .01 level
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account