DSpace Repository

คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประยูร อิ่มสวาสดิ์
dc.contributor.author ฐิติพรรณ ธารทรัพย์ทวี
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:43Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:43Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6848
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำแนก ตามเพศ ประสบการณ์ปฏิบัติงาน และสถานภาพการสมรส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครู ในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 ตามเกณฑ์ การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970, pp. 607-609) ได้จำนวน 136 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) จำแนกตามโรงเรียน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .48-.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) เท่ากับ .96 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ใช้การทดสอบค่าที (t-test) และใช้การทดสอบ ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เมื่อพบความแตกต่างใช้การเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธี ของเชพเฟ่ (Scheffe’s method) ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำงานถูกสุขลักษณะและปลอดภัย และด้านความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานและสังคม 2. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำแนกตามเพศ พบว่าโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานกับสังคม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยา เขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำงานที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1 จำแนกตามสถานภาพการสมรส โดยรวมและ รายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำงานที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย และโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงาน กับสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject ครู -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subject ครู -- ภาระงาน
dc.subject ครู
dc.title คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1
dc.title.alternative The qulity of techer’s working life in Bnbung school cluster 2 under the Chonburi primry eductionl service re office 1
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The independent study aimed to study and compare the quality of teacher’s working life in Banbung school cluster2 under Chonburi primary educational service area office 1.The teacher’s point of view was studied depend on gender, working experience and marital status. Sampling group for research was teachers in Banbung school cluster 2 under the chonburi primary educational service area office 1 follow criterion of table Krejcie and Morgan 1970, pp. 607-609 with the total of 136 persons. They were of sample size determination. The 5 level scales rating questionnaire was used randomly selected. The questionnaire has the discrimination power between .48-.08 and reliability of .96 The data were analyzed by mean, standard deviation, t-test and One-way ANOVA and Scheffe’s method. The results were as follow. 1. The quality of teacher’s working life in Banbung school cluster 2 under Chonburi primary educational service area office 1 was at high level, ranging from Growth and Security, Safe and Healthy Environment and Social Relevance, respectively 2. The quality of teacher’s working life in Banbung school cluster 2 under Chonburi primary educational service area office 1 according to gender difference it was found that Social Relevance was significantly difference at .05 level. 3. The experience did not make any significantly difference in quality of teacher’s working life in Banbung cluster2 under Chonburi primary educational service area office 1 except Safe and Healthy Environment which was significantly difference at .05 level. 4. The marital status also did not make any significantly difference in quality of teacher’s working life in Banbung cluster2 under Chonburi primary educational service area office 1 except Safe and Healthy Environment and general were significantly difference at .05 level and Social Relevance was significantly difference at .01 level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account