DSpace Repository

ผลการปรึกษากลุ่มพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดของผู้ติดสารเสพติด

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดลดาว ปูรณานนท์
dc.contributor.advisor เพ็ญนภา กุลนภาดล
dc.contributor.author ณัฐกานต์ จันทราช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:39Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:39Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6833
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มพฤติกรรมทางปัญญา ที่มีต่อความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดของผู้ติดสารเสพติด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ติดสารเสพติด ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก คลินิกแสงตะวัน โรงพยาบาลองครักษ์ เพศชาย อายุ 18-35 ปี ที่มีผลคะแนนจากแบบวัดความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดในระดับต่ำกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 25 สอบถามความสมัครใจในการเข้าร่วมวิจัย จำนวน 20 คน จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดความตั้งใจ ในการเลิกสารเสพติดที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มพฤติกรรม ทางปัญญาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 12 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที โดยใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง สองตัวประกอบแบบวัดซ้ำหนึ่งตัวประกอบ แบ่งการทดลองออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อน การทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล วิเคราะห์ผลการทดลองโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า ผู้ติดสารเสพติดกลุ่มทดลองมีคะแนนความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดสูงกว่ากลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ติดสารเสพติดกลุ่มทดลองมีคะแนนความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject คนติดยาเสพติด -- การให้คำปรึกษา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
dc.subject คนติดยาเสพติด -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
dc.title ผลการปรึกษากลุ่มพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อความตั้งใจในการเลิกสารเสพติดของผู้ติดสารเสพติด
dc.title.alternative The effects of cognitive behviorl group counseling on bstinent intention in drugs ddict ptients
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This experimental research aimed to study the effects of cognitive behavioral group counseling on abstinent intention in drug addict patient. The samples of the study were 20 drug addict patients whose age ranged from 18 to 35 years old and possessed the abstinent intention score lower than the 25th percentile, they volunteered to participate in the study. They were randomly assigned in to the experimental group and control group with 10 persons in each group. The instruments used for data collection were, the abstinent intention test which the reliability of 0.88 and the cognitive behavioral group counseling intervention program. The experimental group received 12 sessions of the counseling; each session lasted about 60-90 minutes. The study was divided in to three phases: the pre-experiment, the post-experiment and the follow-up phase. The data were analyzed with repeated measures analysis of variance: one between-subjects variable, and one within-subjects variable. The results of the study revealed that the drug addict patients in experimental group possessed the abstinent intention test scores higher than the control group with the .05 statistical significance level when measured in the post-experiment and the follow-up phases. The drug addict patient in an experimental group possessed the abstinent intention test scores in the post- experiment and follow-up phases higher than the pre-experiment phases with the statistical difference at .05 level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา
dc.degree.name วท.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account