dc.contributor.advisor |
สฎายุ ธีระวณิชตระกูล |
|
dc.contributor.author |
พัชรี ชินสงวนเกียรติ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-05-12T03:21:38Z |
|
dc.date.available |
2023-05-12T03:21:38Z |
|
dc.date.issued |
2560 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6827 |
|
dc.description |
งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการครูในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียน ลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .39-.87 และค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบ ค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาในการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับน้อย พิจารณา ในรายด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน ด้านระบบสารสนเทศพื้นฐานโรงเรียน และระบบสารสนเทศการบริหารงานวิชาการโรงเรียน ตามลำดับ 2. เปรียบเทียบปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียน จำแนกตามอายุ พบว่า โดยรวมและรายด้านระบบสารสนเทศการบริหารงานวิชาการโรงเรียน และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้น ด้านระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน และด้านระบบสารสนเทศเพื่อรายงานผลงานโรงเรียน ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ทั้งโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. แนวทางแก้ปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ได้แก่ ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการใช้ระบบสารสนเทศในโรงเรียนร่วมกับบุคลากรในแต่ละฝ่ายงานอย่างชัดเจน จัดหาเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและหลากหลายเพียงพอต่อการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความชำนาญ มีการประเมินระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน และนำผล มาปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา |
|
dc.subject |
ระบบการเรียนการสอน |
|
dc.subject |
เทคโนโลยีทางการศึกษา |
|
dc.subject |
นวัตกรรมทางการศึกษา -- การบริหาร |
|
dc.subject |
การศึกษา -- การบริหาร -- สมุทรปราการ |
|
dc.title |
ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการบริหารระบบสารสนเทศของโรงเรียนในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 |
|
dc.title.alternative |
Problems nd guidelines on informtion system dministrtion of school in Phrsmut Chedi district under Smutprkn primry eductionl service re office 1 |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were to study problems concerning management of information system administration of schools in Phrasamut Chedi district under Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1 as well as survey guidelines for solve the problems. The sample in this study was 162 school teachers in Phrasamut Chedi district under Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1. Data collection instrument in this study was a five-point-rating-scale questionnaire asking 40 questions surveying problems concerning management of information system administration of schools and guidelines for solving the problems. The questionnaire has its item discriminating power between .39-.87. The reliability of this questionnaire was .97. The statistical methods used in this study were Average (x), Standard Deviation (SD), t-test, One way ANOVA and Least Significant Difference: LSD. The research reached the following conclusions: 1. Problems concerning management of information system administration of schools in Phrasamut Chedi district under Samutprakan Primary Educational Service Area Office 1 were found in a low level. The top 3 problems reported in this study included 1) the information system for learners, 2) basic information systems in schools, and 3) the information system for academic management. 2. There was different opinions regarding problems concerning management of information system administration among samples with different ages. This study also reported statistical significance of 0.05 level when comparing opinions of samples regarding information system administration of school and information system for academic management. Furthermore, this study found statistical significant difference at 0.05 level when comparing samples’ opinion as classified by school size. However, this study reported no statistical significant difference both in general and each aspect when educational background of samples were classified. 3. This study obtained guidelines and suggestions to solve the problems included 1) School management teams should set up some goals and policies concerning ways to utilize the information systems, 2) school should provide enough facilities, devices, places and update their information systems, and 3) schools should train teachers to use the systems as well as evaluate the effectiveness of systems to ensure the systems can be used at their standard. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การบริหารการศึกษา |
|
dc.degree.name |
กศ.ม. |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|