DSpace Repository

สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรัตน์ ไชยชมภู
dc.contributor.author นิสรา สิมพรักษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-05-12T03:21:38Z
dc.date.available 2023-05-12T03:21:38Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/6826
dc.description งานนิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำแนกตามเพศ และประสบการณ์การทำงาน โดยสอบถามความคิดเห็นจากครูที่ปรึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 155 คน ใน 5 ด้าน คือ 1) ด้านการรู้จักนักเรียนรายบุคคล 2) ด้านการคัดกรองนักเรียน 3) ด้านการส่งเสริมนักเรียน 4) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา 5) ด้านการส่งต่อ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลสำหรับการวิจัยในครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) จำนวน 2 ข้อ และแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีข้อคำถามจำนวน 37 ข้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert,1967, pp. 16-24) ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .20-.71 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Reliability) ได้ค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าคะแนนเฉลี่ย ("X" ̅) ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงอันดับตามค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งต่อ และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำแนกตามเพศ พบว่า ครูที่ปรึกษาที่มีเพศต่างกันมี การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น ด้านการส่งเสริมนักเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
dc.subject โรงเรียน -- การบริหาร
dc.subject นักเรียน -- การดูแล
dc.subject นักเรียน -- การดำเนินชีวิต
dc.title สภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง
dc.title.alternative The mngement of student cre system of the eductionl extension schools in mueng district Ryong province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study the management of student care system of the educational extension schools in Mung District Rayong Province. The sample of this study was 155 teachers group in educational extension school in Mueng District Rayong Province, classified by sex and experiences for answering the questionnaires. The research instrument was a five-rating-scale questionnaire. The student care system composed of 5 aspects as the individual of student, the screening of students, the encourage of students, the prevention and resolution of the students and refering the students. The discriminant value level was about .20-.71 and the reliability value level was about .91. The data was analyzed by using frequency, percentage, Mean, Standard Deviation and t-test. The results of this study were as follows: 1. The management of student care system of the educational extension school in Mueng District Rayong Province was rate at a high level in general and each aspect. 2. Comparison about management of student care system of the educational extension school in Mueng District Rayong Province classified by sex showed no statistically significant difference in general and each aspect. 3. Comparison about the management of student care system of the educational extension school in Mueng District Rayong Province classified by experience showed no statistically significant difference in general and each aspect, except the encouragement of students was statistically significant different at .05 level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารการศึกษา
dc.degree.name กศ.ม.
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account